The 3D Reset: โลกเปลี่ยนครั้งใหญ่ คำศัพท์ไหนไม่รู้ไม่ได้ odini BLACK Schroders Growth & Income

The 3D Reset: โลกเปลี่ยนครั้งใหญ่ คำศัพท์ไหนไม่รู้ไม่ได้ odini BLACK Schroders Growth & Income

Schroders บริษัทจัดการลงทุนชั้นนำของโลก คาดกว่าการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ 3 สิ่ง หรือ “3Ds” จะสร้างแรงกระเพื่อมแก่โลกใบนี้

 

D ที่ว่า จะหมายถึงอะไร ไปขยายความกัน

 

┏━━━━━━━━━━━━━┓

🔊DCA ผ่าน odini ได้แล้ววันนี้

ลองเลย 👆

┗━━━━━━━━━━━━━┛

———-

The 3D Reset: โลกเปลี่ยนครั้งใหญ่ คำศัพท์ไหนไม่รู้ไม่ได้

odini BLACK Schroders Growth & Income

 

The 3D Reset: โลกเปลี่ยนครั้งใหญ่ คำศัพท์ไหนไม่รู้ไม่ได้ odini BLACK Schroders Growth & Income

 

Schroders คาดกว่าการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ 3 สิ่ง 1) Decarbonisation 2) Demographics และ 3) Deglobalization หรือ “3Ds” จะมีนัยยะระยะยาวต่อเศรษฐกิจโลก มากไปกว่านั้น จะส่งผลต่อเงินเฟ้อที่สูงและผันผวนขึ้น ไปจนถึงการส่งผลต่อการเติบโต

 

เรากำลังเรียกสิ่งเหล่านี้ว่า “3Ds Reset” จากความเปราะบางของ Demographic การเสื่อมถอยลงจากประโยชน์ของ Globalisation และเทรนด์ Decarbonisation มีแนวโน้มที่จะสร้างแรงกดดันต่อธนาคารกลาง ที่ต้องให้ความสำคัญกับเงินเฟ้อ มากกว่าการเติบโต ที่เป็นการต้องเลือกอย่างใดอย่าหนึ่ง หรือ “Inflation growth trade-off”  

 

เพื่อที่จะเข้าใจว่าเทรนด์เหล่านี้ส่งผลต่อเงินเฟ้ออย่างไรในระยะยาว นักลงทุนจำเป็นต้องทำความเข้าใจความหมายของบริบทต่างๆ ต่อไปนี้ก่อน

 

Deglobalisation

 

 

  • Global value chains คือการที่กระบวรการผลิตถูกแบ่งออกเป็นส่วนๆ และมักจะถูกตั้งถิ่นฐานในเศรษฐกิจ/ภูมิภาคที่แตกต่างกัน สิ่งนี้ทำให้เกิดประโยชน์ไม่ว่าจะเป็น การลดต้นทุน การเกิดการประหยัดจากขนาด ความเชี่ยวชาญ และประสิทธิภาพที่สูงขึ้น

 

  • Globalized model of extended supply chains สิ่งนี้อธิบายถึงระบบเศรษฐกิจที่ขึ้นอยู่กับ Global Value Chains ระบบที่พัฒนาขึ้นจากกระแสโลกาภิวัตน์ ที่ขึ้นไปถึงขีดสุดช่วง 1990s ถึงช่วงต้น 2000s ประเทศจีนถือเป็นหัวใจของระบบนี้ เพราะเป็นผู้ทรงอิทธิพลในด้านการผลิตหรือเป็น “โรงงานของโลก”

 

  • Nearshoring / friendshoring หรือ การเคลื่อนย้ายการผลิตออกจากประเทศที่ห่างไกลเป็นประเทศที่ใกล้เคียง (Nearshoring) หรือ การเปลี่ยนผันมาเป็นภายใต้กลุ่มพันธมิตร (friendshoring) กระแสเหล่านี้เป็นสัญลักษณ์ถึงการตีตัวออกจาก globalised model of extended Supply Chains การค้าระหว่างประเทศและกระแสโลกาภิวัตน์

 

  • Non-Inflationary Consistenly Expansionary, or “NICE” era ด้วยการขับเคลื่อนโดยโลกแห่งโลกาภิวัตน์ ยุคดังกล่าวได้เริ่มขึ้นเมื่อปลายช่วง 1990s สังเกตได้จากการเติบโตที่อยู่นิ่ง และอัตราว่างงานที่ค่อยๆ ลดลง และอยู่ในระดับต่ำ รวมไปจนถึงอัตราเงินเฟ้อที่ค่อนข้างคงที่ ในประเทศพัฒนาแล้ว

 

  • Offshoring เป็นแนวคิดที่บริษัทข้ามชาติย้ายฐานการผลิตออกจากประเทศพัฒนาแล้ว เพื่อย้ายไปในประเทศที่ด้อยพัฒนากว่า ซึ่งได้พิสูจน์แล้วเป็นอย่างดีถึงความสำเร็จของแนวคิด ในช่วง 1980s และ 2000s

 

  • Onshoring คำตรงกันข้ามกับ offshoring ซึ่งหมายถึงการเคลื่อนย้ายฐานการผลิตกลับมาในประเทศพัฒนาแล้วอย่างดั้งเดิมที่เคยเป็นอยู่

 

  • Protectionism เป็นนโยบายที่เอื้อบริษัทในประเทศ มากกว่าต่างประเทศ ผ่านการใช้ ภาษี หรือกฏระเบียบต่างๆ

 

  • World Economic Order หลังช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ระบบเศรษฐกิจอยู่บนฐานของการร่วมมือแบบพหุภาคี สิ่งนี้ทำให้เกิดการเติบโตแบบรวดเร็วของการค้าระหว่างประเทศภายใต้การสนับสนุนขององค์กรการค้าโลก WTO

 

———————————————————————————————————–

 

Decarbonisation

 

 

  • Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) เป็นกรอบนโยบายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของ European Union โดยเป็นการบังคับบริษัทที่นำเข้าไปยัง European Union ต้องซื้อ “CBAM certificates” ด้วยการจ่ายส่วนต่างราคาคาร์บอนในประเทศที่ผลิตและราคาคาร์บอนที่ได้รับการอนุญาตในการปล่อย ใน EU Emissions Trading Scheme

 

  • Carbon pricing มาตรการจูงใจการลดการปล่อยคาร์บอน มาตรการนี้เกี่ยวข้องกับการสร้างราคาที่ต้องจ่ายมลพิษ ไม่ว่าจะเป็นลักษณะ ‘cap-and-trade’ เช่น EU Emissions Trading Scheme หรือภาษีคาร์บอน เช่น Carbon Border Adjustment Mechanism

 

  • Decarbonisation / energy transition คือการที่ประเทศต่างๆ เปลี่ยนผ่านพลังงานที่พึ่งพาฟอสซิล ที่รวมถึง น้ำมัน พลังงานธรรมชาติ และถ่านหิน ไปเป็น พลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์

 

  • EU Emissions Trading Scheme (EU ETS) เป็นตลาดคาร์บอนแห่งแรกและหนึ่งในตลาดที่ใหญ่ที่สุดของโลก ด้วยระบบ“cap-and-trade” จะช่วยจำกัดปริมาณการปล่อยที่ออกมาจากการผลิตเชิงอุตสาหกรรมต่างๆ

 

  • Fossilflation องค์ประกอบของเงินเฟ้อที่เกี่ยวข้องกับพลังงานฟอสซิล ที่เป็นผลมาจากการตั้งราคาคาร์บอนที่เข้มงวดขึ้น สืบเนื่องจากในหลายเศรษฐกิจยังพึ่งพาพลังงานจำพวกฟอสซิลอยู่มาก ก่อนที่จะเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานสะอาดได้เสร็จสิ้น

 

  • Green subsidies ทางเลือกของการตั้งราคาการปล่อยคาร์บอน เปลี่ยนเป็นการสร้างนวัตกรรมผ่าน green subsidies มาตรการนี้ได้เริ่มใช้ในประเทศสหรัฐฯ ภายใต้ Inflation Reduction Act.

 

  • Green technology อธิบายถึงกลุ่มอุตสาหกรรมที่สร้างเศรษฐกิจสีเขียว เช่น การตรวจจับและกักเก็บคาร์บอน โครงสร้างพื้นฐานเพื่อการเดินทางแบบใหม่ ระบบโครงข่ายพลังงานอัจฉริยะ และ ไฮโดรเจนแบบยั่งยืน ที่มีความสำคัญต่อการเปลี่ยนผ่านพลังงาน

 

  • Greenflation อีกส่วนประกอบของเงินเฟ้อ ที่มาจากการขาดแคลนสินแร่หลักที่จำเป็นต่อการเปลี่ยนผ่านพลังงาน

 

———————————————————————————————————–

 

Demographics

 

 

  • Age-dependency ratio อัตราส่วนของประชากรหนุ่มสาวและสูงอายุเทียบกับวัยทำงาน อัตราส่วนนี้ปรับสูงขึ้นในหลายประเทศทั้งประเทศพัฒนาแล้ว และประเทศกำลังพัฒนา รวมถึงประเทศจีน ที่ประชากรวัยทำงานมีน้อย ผลักให้ค่าแรงสูงขึ้น

 

  • Artificial intelligence (AI) เทคนิคที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์จัดการงานที่โดยปกติต้องใช้ความฉลาดของมนุษย์

 

  • Automation ยิ่งประชากรที่ลดลงและค่าแรงที่เพิ่มขึ้นของแรงงานมนุษย์ ยิ่งมีแนวโน้มบังคับให้บริษัทต้องลงทุนในระบบปฏิบัติการอัตโนมัติที่ใช้หุ่นยนต์ ไม่ว่าจะเป็น หุ่นยนต์อัจฉริยะ โดยเฉพาะในประเทศพัฒนาแล้ว โดยเทรนด์ reshoring ยิ่งเป็นตัวเร่ง

 

  • Collective bargaining power การที่แรงงานรวมตัวขึ้น ผ่านสหภาพแรงงาน ต่อรองกับนายจ้าง เกี่ยวกับเงื่อนไขต่างๆ ในการจ้างงาน Collective bargaining power ถือเป็นลักษณะที่สำคัญในตลาดแรงงานในประเทศพัฒนาแล้วหลายแห่ง

 

  • Fiscal space คือความสามารถที่จะใช้เครื่องมือของรัฐบาลในการใช้นโยบายด้านการคลัง ทั้งด้านภาษีและการใช้จ่าย ผ่านดุลยพินิจ โดยไม่เป็นอันตรายต่อการเข้าถึงเงินทุนและความยั่งยืนของภาระหนี้

 

  • Flexible labour markets เป็นตัวทำให้เกิด “NICE” ช่วงกลาง 1990s และ ช่วงต้น 2000s การปฏิรูปตลาดแรงงานในหลายประเทศพัฒนาแล้วได้ช่วยทำลายการเชื่อมโยงของอัตราเงินเฟ้อและค่าแรงลง

 

  • Labour participation rate หมายถึง สัดส่วนของประชากรอายุมากกว่า 16 ที่กำลังทำงานหรือกำลังมองหางาน ตัวเลขนี้ได้ลดลงตั้งแต่ช่วง Covid-19 ที่ผลักให้คนเลิกทำงาน หรือไม่สามารถมองหางาน เนื่องจากสุขภาพย่ำแย่ ส่งผลให้เกิดการขาดแคลนแรงงานในหลายประเทศพัฒนาแล้ว ที่เป็นปัจจัยสำคัญทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น

 

  • Smart robotics เป็นการผสมผสานระหว่าง หุ่นยนต์ และปัญญาประดิษฐ์ เพื่อที่จะสร้างอุปกรณ์/เครื่องมือที่ทำงานได้โดยอิสระ และสื่อสารกับอุปกรณ์/เครื่องมืออื่นๆ

 

  • Supply-side solutions คือทางออกที่จะช่วยบรรเทาภาวะแรงงานขาดแคลน โดยเฉพาะการผ่อนปรนนโยบายควบคุมคนอพยพเข้า อย่างไรก็ตามมาตรการดังกล่าวได้เป็นได้ยากขึ้นจากนโยบาย Protectionism ในยุค post-Brexit และ post-Trump US

 

  • Working-age population หมายถึง สัดส่วนประชากรที่มีอายุ 15-64 ปี ต่อประชากรทั้งหมด

 

 

┏━━━━━━━━━━━━━┓

odini BLACK Ultimate Allocation

✔️นโยบายการลงทุนที่สามารถปรับระดับความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนให้เหมาะกับการเปลี่ยนแปลงของสภาวะตลาดในแต่ละช่วงเวลา

✔️เพิ่มความยืดหยุ่นด้วยการทยอยเพิ่มหรือลดน้ําหนักการลงทุนให้เหมาะสม

✔️ดำเนินการโดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญ พร้อมปรับพอร์ตอัตโนมัติ 

✔️ลงทุนเริ่มต้นเพียง 100,000 บาทเท่านั้น

หากสนใจเริ่มลงทุน คลิก odiniapp.co/3NZCMWQ

┗━━━━━━━━━━━━━┛

#odini

#แอปลงทุนกองทุนรวมอัตโนมัติ

#ลงทุนง่ายได้ทุกคน

 

 

 

ที่มา: Schroders, 1 ก.ค. 2023

 

*ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต
**การลงทุนมีความเสี่ยงผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน



No Comments

Sorry, the comment form is closed at this time.