สภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ (Recession) จะเกิดหรือไม่ ?

สภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ (Recession) จะเกิดหรือไม่ ?

สภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ (Recession) จะเกิดหรือไม่ ?

.
Schroders ชวนไขข้อสงสัยว่าสภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ หรือ Recession ของโลก จะเกิดขึ้นหรือไม่ ด้วยสาเหตุที่สหรัฐฯ มีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลกและกว่าผลผลิตมากกว่า 1 ใน 4 ก็มาจากที่แห่งนี้ ดังนั้นการจะตอบคำถามนั้นได้จึงมีตัวแปรต้นคือความเป็นไปของเศรษฐกิจสหรัฐฯ เป็นสำคัญ

.

.

Recession คืออะไร

.

โดยทั่วไป Recession หมายถึงการหดตัวลงของเศรษฐกิจซึ่งสามารถวัดได้ด้วย GDP ที่แท้จริง ของแต่ละเศรษฐกิจเติบโต จำนวน 2 ไตรมาสติดต่อกัน ซึ่งมาพร้อมกับดัชนีบ่งชี้รายเดือน อาทิ การเพิ่มขึ้นของการว่างงาน หรือหากอ้างอิงจาก NBER จะหมายถึงการหดตัวลงของกิจกรรมทางเศรษฐกิจแบบเป็นวงกว้างเป็นจำนวนหลายเดือน ซึ่งมาพร้อมกับ GDP ที่แท้จริง รายได้ที่แท้จริง การจ้างงาน ผลผลิตอุตสาหกรรม รวมถึงยอดค้าปลีก ที่ย่ำแย่ลง

.

.

ดัชนีจำนวนหลายตัวของ Schroders บ่งชี้ว่าสหรัฐฯ ส่งสัญญาณ “เฝ้าระวัง”

.

ตัวแปรจำนวนกว่า 7 จาก 20 ตัว ดังภาพ “Schroders Recession Dashboard” ที่เป็นตัวประเมินเศรษฐกิจระดับมหภาคภาพระยะยาว ระดับมหภาคและสภาพตลาดการเงินภาพระยะสั้น คิดเป็น 35% ที่บ่งชี้ถึงความเสี่ยงการเกิด Recession ในสหรัฐฯ (31 มีนาคม 2022) ซึ่งเป็นระดับปรับสูงขึ้นมานับจากสิ้นปี 2021 ที่อยู่ราว 10% เท่านั้น

.

และหากประเมินจากอดีต การเกิด Recession ในสหรัฐฯ โดยส่วนมากจะตามมาด้วยตัวเลข 40%  ถึงแม้ในปี 1995 จะไม่เป็นไปตามนั้น อย่างไรก็ดี การเติบโตของเศรษฐกิจก็ทำได้แค่เป็นไปอย่างช้า ๆ เพียงเท่านั้น

.

7 ตัวแปรเหล่านั้นที่ส่งสัญญาณเฝ้าระวัง อาทิ จำนวนคนยื่นขอสวัสดิการว่างงานที่เพิ่มขึ้น ช่องว่างการว่างงาน ระดับราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ปรับตัวสูงขึ้น ไปจนถึงตัวเลขคำสั่งซื้อของการผลิตสินค้าใหม่

.

.

ที่มาของตัวแปรเหล่านั้นมาจากไหน? 

.

ด้วย “วัฏจักรเศรษฐกิจ” ถือเป็นหัวใจสำคัญที่จะวัดถึงการเกิด Recession เพราะโดยธรรมชาติแล้วเศรษฐกิจจะมีการเปลี่ยนแปลงจากช่วงขยายตัว (Expansion) สู่ช่วงหดตัว (Contraction หรือ Recession) และจะเป็นเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ เป็นวัฏจักร ดังนั้นการได้มาของดัชนีบ่งชี้การเกิด Recssion ของ Schroders จึงมีที่มาจากระดับมหภาคภาพระยะยาวที่แบ่งออกเป็นกลุ่ม 3 กลุ่มคือ

.

1. กลุ่มเกี่ยวข้องกับเงินเฟ้อ (Inflationary)

.
เป็นสัญญาณบ่งชี้ระยะต้นว่าด้วยเศรษฐกิจอยู่ระดับศักยภาพหรือร้อนแรงเกินไปหรือไม่ ด้วยตัวแปร อาทิ ช่องว่างผลผลิต ช่องว่างการว่างงาน โดยปกติจะส่งสัญญาณเฝ้าระวังล่วงหน้าก่อนการเกิด Recession ด้วยระยะเวลา 15-24 เดือน
.
.

2. กลุ่มเกี่ยวข้องกับนโยบายการเงิน (Monetary)

.
เป็นสัญญาณบ่งชี้ระยะกลาง เพราะจากแรงกดดัน Inflationary เร่งตัว ส่งผลให้ Fed ใช้นโยบายการเงินแบบเข้มงวด อาทิ การขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย การถอนสภาพคล่อง ด้วยตัวแปร อาทิ ส่วนต่างผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลช่วง 3 เดือน และ 10 ปี โดยปกติจะส่งสัญญาณเฝ้าระวังล่วงหน้าก่อนการเกิด Recession ด้วยระยะเวลา 5-13 เดือน
.
.

3. กลุ่มเกี่ยวข้องกับระดับมหภาคและสภาพตลาดการเงินภาพระยะสั้น (Near-term macro and financial markets)

.
เป็นสัญญาณบ่งชี้ระยะสุดท้ายหรือช้าที่สุด โดยหลังการปรับขึ้นของดอกเบี้ยนโยบายเป็นตัวทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจลดลงและทำให้ตลาดการเงินมีความอ่อนไหวมากยิ่งขึ้นไปอีก  ตรวจจับจากตัวแปร อาทิ ISM new orders หรือ ดัชนี VIX โดยปกติจะส่งสัญญาณเฝ้าระวังล่วงหน้าก่อนการเกิด Recession ด้วยระยะเวลาเพียง 1 เดือนเท่านั้น

.

.

.

ดัชนีกลุ่ม Inflationary ส่งสัญญาณความกังวล

.

ถึงแม้ตัวแปรบางตัวในกลุ่ม Near-term macro and financial markets อย่างดัชนี VIX ที่วัดความผันผวนของหุ้นและโดยภาพรวมที่ส่งสัญญาณเฝ้าระวัง ผู้เชี่ยวชาญ Schroders ชี้ว่ายังไม่ได้หมายถึงความเสี่ยงของการเกิด Recession แต่เป็นเพราะเกิดจากเรื่องความไม่แน่นอนของภูมิรัฐศาสตร์จากความขัดแย้งของรัสเซีย-ยูเครน

.

อย่างไรก็ดี ตัวแปรจำนวนกว่า 4 จาก 6 ตัว หรือคิดเป็น 67% ของกลุ่ม Inflationary ที่ปรับตัวขึ้นสูงกว่าช่วงที่ผ่านมา ที่สามารถชี้ว่าในช่วง 15-24 เดือนข้างหน้าว่าอาจเกิด Recession ในสหรัฐฯ ดังภาพ “Most inflationary indicator are signalling recession risks” เป็นการส่งสัญญาณความกังวลถึงความเสี่ยงการเกิดเหตุดารณ์ดังกล่าว
.

และด้วยสถานการณ์ที่ Fed ยังคงปรับขึ้นดอกเบี้ยและถอนสภาพคล่องในระยะข้างหน้า

ดัชนีกลุ่มนี้ก็จะส่งสัญญาณเฝ้าระวังในระดับรุนแรงมากยิ่งขึ้น

.

.

.

3 เหตุผล ทำไมโอกาสการ Recession ในสหรัฐฯ จึงสูงมาก

.

ด้วยการปรับดอกเบี้ยนโยบายของ Fed 50 bps ที่แรงที่สุดนับตั้งแต่ ปี 2000 สู่ระดับ 0.75-1% ภายใต้ระดับเงินเฟ้อเทียบปีต่อปีที่เป็น New high ในรอบ 4 ทศวรรษ

.

ผู้เชี่ยวชาญ Schroders ให้ความเห็นว่า Fed อาจจะต้องเลือกระหว่างระดับเงินเฟ้อที่ต่ำลงหรือเสถียรภาพของราคากับการเกิด Recession เพราะไม่ง่ายนักที่จะเป็นไปภายใต้กรณีที่ดีที่สุดอย่างนุ่มนวล (Soft landing)

.

เหตุผลแรก.

เงินเฟ้อรอบนี้มาจริง  เงินเฟ้ออยู่ในระดับสูงและแพร่กระจายวงกว้างขณะที่ตลาดแรงงานตึงตัว ความหนืดของราคาที่สูงเป็นข้อกังวลถึงการใช้ระยะเวลานานและช้าที่จะปรับตัวลง จึงทำให้เงินเฟ้อสำหรับระลอกถัดไปมีแรงส่งขึ้นไปอีกพร้อมกับระดับค่าจ้างสูงขึ้น
.

เหตุผลสอง.

นโยบายการเงินอาจจะเอาไม่อยู่ เพราะนโยบายการเงินตอบสนองโดยมีระยะเวลาล่าช้า และความเชื่อมั่นถือเป็นสิ่งสำคัญ ความกังวลว่าจะเกิด Recesion สามารถทำให้เกิด Recesion ได้จริง อาทิ การที่ความเชื่อมั่นที่ต่ำของภาคครัวเรือนและภาคเอกชนว่าเศรษฐกิจในระยะข้างหน้าจะดี จึงลดการจับจ่ายใช้สอยและลงทุนลง ทำให้เกิด Recession ได้จริงได้ด้วยตัวเอง
.
.

เหตุผลสาม สิ่งที่เกิดขึ้นในตอนนี้ (5 พ.ค. 22).

  • ธนาคารกลางทั่วโลกใช้นโยบายแบบเข้มงวดเพื่อต่อสู้กับเงินเฟ้อ ซึ่งหมายถึงอุปสงค์ภายนอกประเทศและทั่วโลกอ่อนแอลง
  • กิจกรรมทางเศรษฐกิจในยุโรปได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครนและความพยายามที่จะคว่ำบาตรการพึ่งพาทรัพยากรจากรัสเซีย การปรับตัวเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ส่งผลถึงความสามารถในการบริโภค และรายได้ที่แท้จริงที่ลดลง ของทั่วโลก
  • แม้จีนไม่ได้ใช้นโยบายการเงินแบบเข้มงวด แต่นโยบาย Zero Covid ได้เป็นตัวฉุดรั้งเศรษฐกิจ
  • นโยบายการคลังมีแนวโน้มที่จะเข้มงวดหลังจากผ่อนคลายท่วมท้นเพื่อรับมือกับการล็อกดาวน์จากโควิดในช่วงก่อนหน้าไม่นาน
    .

Schroders จึงคาดการณ์ว่า

Fed จะปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายติดต่อกันจำนวน 6 ครั้ง ไปอยู่ระดับสูงสุดที่ 2.25-2.5% ช่วงต้นปี 2023 ซึ่งตลาดมองว่าจะขึ้นไปที่ระดับสูงกว่าระดับดังกล่าว ซึ่งนั่นหมายถึงว่าผลที่ตามมาคือ Fed อาจจะปราบเงินเฟ้อได้แต่อาจจะมาพร้อมกับราคาที่ต้องจ่ายคือ Recession ของสหรัฐฯ (5 พ.ค. 22)

.

และแน่นอนผลพวงของ Recession นี้ อาจนำไปสู่วงกว้างถึงระดับโลกได้

.

ยิ่งไปกว่านั้น โดยปกติแล้วราคาสินทรัพย์เองก็จะตอบสนองด้วยการปรับฐานไปก่อนล่วงหน้า
.

การติดตามสถานการณ์ตลาดอย่างใกล้ชิดและการเข้าถึงข้อมูลการลงทุนเชิงลึกได้อย่างเท่าทันเพื่อลงมือปรับพอร์ต อาจเป็นทางเดียวที่จะรอดพ้นได้

.

.

ให้ Schroders ผู้บริหารพอร์ตลงทุนระดับโลกดูแลคุณแบบ “ซุปเปอร์วีไอพี”

.
นโยบายการลงทุนภายใต้แอปพลิเคชัน odini ผ่านชื่อพอร์ต Schroders Growth & Income ที่บริษัทจัดการลงทุนระดับโลกอย่าง Schroders เป็นที่ปรึกษาในการจัดสรรสินทรัพย์ ด้วยกลยุทธ์กระจายการลงทุนแบบยืดหยุ่นไม่มีข้อจำกัด ด้วยการปรับสัดส่วนการลงทุนให้เข้ากับสถานการณ์และสภาวะตลาดที่เปลี่ยนแปลง เพื่อลดความผันผวนและเพิ่มโอกาสในการสร้างผลตอบแทน ไม่ว่าภาวะตลาดจะมีความท้าทายมากน้อยเพียงใด

.
อยากเริ่มลงทุนแล้ว คลิกได้ที่ LINE @odiniapp ได้เลย

.
#odini

#แอปลงทุนกองทุนรวมอัตโนมัติ
#ลงทุนง่ายได้ทุกคน

No Comments

Sorry, the comment form is closed at this time.