แบบสำรวจผู้จัดการกองทุนทั่วโลกจาก BofA กำลังบอกอะไร
เราสามารถเข้าใจแนวโน้มการลงทุนได้ ถ้าเข้าใจว่าผู้จัดการกองทุนส่วนใหญ่คิดอะไรกันอยู่
และนี่คือข้อมูลจากแบบสำรวจผู้จัดการกองทุนทั่วโลกของธนาคารแห่งอเมริกา (BofA) ฉบับเดือนพฤศจิกายน
โดยครอบคลุมผู้เข้าร่วม 179 คนที่เป็นตัวแทนบริหารสินทรัพย์มูลค่ารวม 503 พันล้านดอลลาร์
จะมีข้อมูลอะไรให้นักลงทุนติดตาม
มาดูพร้อม ๆ กันครับ
แบบสำรวจผู้จัดการกองทุนทั่วโลกของธนาคารแห่งอเมริกา (BofA) ฉบับเดือนพฤศจิกายนนั้นได้ทำการสำรวจจัดทำขึ้นระหว่างวันที่ 1-7 พฤศจิกายน
แปลว่าการสำรวจนั้นครอบคลุมช่วงก่อนและหลังจากผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ
ผลการสำรวจแสดงให้เห็นว่าระดับเงินสดเฉลี่ยอยู่ที่ 4.3% เพิ่มขึ้นจาก 3.9% ในเดือนตุลาคม
แต่การเพิ่มขึ้นนี้สะท้อนถึงการที่นักลงทุนเพิ่มการถือเงินสดก่อนการเลือกตั้ง หลังจากทราบผลการเลือกตั้งแล้วระดับเงินสดลดลงมาอยู่ที่ 4%
การคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจทั่วโลกดีขึ้นอย่างมาก โดยมี 23% คาดว่าเศรษฐกิจจะแข็งแกร่งขึ้นในอีก 12 เดือนข้างหน้า หลังจากที่ทราบผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีทรัมป์
โดยเทียบกับ 10% ที่คาดการณ์เศรษฐกิจอ่อนแอลงในเดือนตุลาคม
ซึ่งมีไม่กี่ครั้งในประวัติศาสตร์ของการสำรวจที่การคาดการณ์การเติบโตเพิ่มขึ้นราว 30% ในเดือนเดียว
มุมมองเรื่องกำไรก็ดีขึ้นเช่นกัน โดย 10% ของผู้ตอบแบบสำรวจคาดว่ากำไรบริษัทจดทะเบียนจะเพิ่มขึ้นในอีก 12 เดือนข้างหน้า หลังจากผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีทรัมป์ โดยเทียบกับ 5% ในเดือนตุลาคม
โดยมุมมองของนักลงทุนส่วนใหญ่คิดว่าการซื้อหุ้นกลุ่ม Magnificent 7 และทองคำเป็นการลงทุนที่ดีที่สุดหลังทรัมป์ชนะการเลือกตั้ง
มุมมองต่อเศรษฐกิจ
ความคาดหวัง “Soft Landing” ลดลงจาก 76% เหลือ 63%
ขณะที่ความน่าจะเป็นของ “Hard Landing” ยังคงอยู่ที่ 8% ไม่เปลี่ยนแปลง
แต่จุดสำคัญคือความคาดหวังต่อ “No Landing” หรือการที่เศรษฐกิจจะไปต่อ เพิ่มขึ้นจาก 14% เป็น 25%
โดยจากการสำรวจจะเห็นว่านักลงทุนกังวลว่าการเร่งตัวขึ้นของเงินเฟ้อคือความเสี่ยงที่น่าจับตามองที่สุด
ทั้งนี้ดัชนี Bull and Bear ของ BofA อยู่ที่ 6.2 (สถานะเป็นกลาง) เทียบกับ 7.1 ในเดือนก่อนหน้า
โดยดัชนีนี้มีค่าตั้งแต่ 0 ถึง 10 โดยจัดเป็นสัญญาณซื้อเมื่อดัชนีต่ำกว่า 2 และเป็นสัญญาณขายเมื่อดัชนีถึง 8
แล้วแนวโน้มในปีหน้าเป็นอย่างไร
นอกจากนี้ หลังจากทราบผลการเลือกตั้ง นี่คือตัวเลขแนวโน้มที่ผู้ตอบแบบสำรวจทำนายในปีหน้า
สินทรัพย์ที่จะมีผลการดำเนินงานดีที่สุด:
- 43% เชื่อว่า หุ้นสหรัฐฯ จะมีผลการดำเนินงานดีที่สุด
- 20% เชื่อว่า หุ้นทั่วโลก จะมีผลการดำเนินงานดีที่สุด
- 15% เชื่อว่า ทองคำ จะมีผลการดำเนินงานดีที่สุด
ดัชนีหุ้นที่จะมีผลการดำเนินงานดีที่สุด:
- 35% เชื่อว่า Russell 2000 จะมีผลการดำเนินงานดีที่สุด
- 28% เชื่อว่า Nasdaq จะมีผลการดำเนินงานดีที่สุด
- 15% เชื่อว่า MSCI ตลาดเกิดใหม่ จะมีผลการดำเนินงานดีที่สุด
สกุลเงินที่มีผลการดำเนินงานดีที่สุด:
- 45% เชื่อว่า ดอลลาร์สหรัฐ จะมีผลการดำเนินงานดีที่สุด
- 28% เชื่อว่า ทองคำ จะมีผลการดำเนินงานดีที่สุด
- 20% เชื่อว่า ค่าเงินเยนญี่ปุ่น จะมีผลการดำเนินงานดีที่สุด
การเปลี่ยนแปลงมุมมองต่อตลาดและสินทรัพย์ต่าง ๆ
- การปรับพอร์ตหุ้นสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นเป็น 29% หลังผลการเลือกตั้ง เทียบกับ 10% ในเดือนที่ผ่านมา แตะระดับสูงสุดในรอบ 11 ปี
- การปรับพอร์ตหุ้นยูโรโซน ไม่เปลี่ยนแปลงที่ -3%
- การปรับพอร์ตหุ้นตลาดเกิดใหม่ เพิ่มขึ้นเป็น 27% เทียบกับ 21% ในเดือนที่แล้ว
- การปรับการถือครองพันธบัตร มาอยู่ที่ -10% ในเดือนนี้ จาก -15% ในเดือนที่แล้ว
- การถือเงินสด เพิ่มขึ้นเป็น 4% จากเดิมที่ -4% ในเดือนตุลาคม
- การปรับพอร์ตสินค้าโภคภัณฑ์ ลดลงเหลือ -9% จากเดิมที่ 1% ในเดือนตุลาคม
- 51% ของผู้ตอบแบบสำรวจเชื่อว่า ดอลลาร์สหรัฐฯ มีมูลค่าสูงเกินไป เพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคม 5%
- 40% เชื่อว่า ทองคำ มีมูลค่าสูงเกินไป เพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคม 14% และสูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนกันยายน 2011
#odini
#แอปลงทุนกองทุนรวมอัตโนมัติ
#ลงทุนง่ายได้ทุกคน