“จีน อาจไม่เลวร้ายอย่างที่คิด” odini BLACK Schroders Growth & Income
แม้ว่าสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในปัจจุบันของจีนจะน่ากังวล แต่การมองโลกในแง่ร้ายของนักลงทุนก็อาจมากเกินไป ในบทความนี้ ทีมผู้เชี่ยวชาญของ Schroders ได้ประเมินว่าอนาคตของประเทศจีนจะเป็นอย่างไร ไปจนถึงการทวนกระแสโลกาภิวัตน์ (Degloblisation) การลดการปล่อยคาร์บอน (Decarbonisation) และจำนวนประชากร (Demographics) จะส่งผลกระทบต่อจีนเองและประเทศตลาดเกิดใหม่อื่นๆ อย่างไร
┏━━━━━━━━━━━━━┓
🎁โปรโมชัน DCA ที่แอป FinVest รับเงินคืน สูงสุด 0.2%* ของยอดเงินลงทุนสะสมสุทธิ odiniapp.com/odini-แอบมาบอกโปรโมชั่น/
🔊DCA ผ่าน odini ได้แล้ววันนี้ ลองเลย
┗━━━━━━━━━━━━━┛
———-
“จีน อาจไม่เลวร้ายอย่างที่คิด”
odini BLACK Schroders Growth & Income
เมื่อทีมบริหารของ Biden ประกาศว่าจะห้ามบริษัทสหรัฐฯ ลงทุนในอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ควอนตัม ชิปขั้นสูง และ AI ของจีน ถือเป็นเครื่องเตือนใจอันสำคัญว่า นักลงทุนจะต้องคำนึงถึงความเสี่ยงเรื่องการแข่งขันของประเทศสองมหาอำนาจนี้เป็นสำคัญด้วย
การเติบโตทางเศรษฐกิจในจีนกำลังถดถอย และการขาดความเร่งด่วนจากรัฐบาลในการกระตุ้น ทำให้นักเศรษฐศาสตร์ของ Schroders ต้องลดการคาดการณ์การเติบโตของ GDP ในปีนี้ลงเหลือ 4.8% จาก 6.5% ก่อนหน้านี้
นโยบายโควิดของจีนมีผลกระทบร้ายแรงต่อผู้บริโภค? และสิ่งนี้หมายความว่าอย่างไรสำหรับความฝันของจีนในความสามารถที่จะ “พึ่งพาตนเอง” และการนำพา “ความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน” มาสู่ประเทศ?
ธีมต่างๆ เช่น AI และยานพาหนะไฟฟ้า กำลังทำให้ฟองสบู่ในตลาดขยายตัวในที่อื่นๆ ในเอเชีย เนื่องจากตลาดหุ้นเกิดใหม่ ถูกครอบงำโดยภูมิภาคนี้ นักลงทุนจะหาโอกาสได้จากที่ไหน?
คณะผู้เชี่ยวชาญ ได้แก่
- Sir Sebastian Wood อดีตเอกอัครราชทูตประจำประเทศจีน
- David Rees นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสตลาดเกิดใหม่
- Abbas Barkhordar ผู้จัดการกองทุนหุ้นเอเชีย
- Vera German ผู้จัดการกองทุนหุ้นคุณค่าตลาดเกิดใหม่ ได้ให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบัน และ
- Stuart Podmore ผู้อำนวยการฝ่ายข้อเสนอการลงทุน เป็นผู้นำการหารือ
เรื่องราวของจีนเป็นอย่างไรบ้าง?
Sir Sebastian Wood: ผมเพิ่งกลับจากการไปปักกิ่ง ผมเห็นถึงความไม่มั่นใจว่าเราจะได้เห็นการเติบโตที่แข็งแกร่งมากขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี
ความเสี่ยงเรื่องภูมิรัฐศาสตร์ เป็นปัจจัยสำคัญด้านจิตวิทยาของเศรษฐกิจจีนในขณะนี้ เราอยู่ในยุคแห่งความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ที่เพิ่มสูงขึ้นระหว่างสหรัฐฯ และจีน และนั่นคือการประเด็นระดับโลก รัฐบาลทั้งสองกำลังพยายามจัดการกับความตึงเครียดเหล่านี้ แต่เหตุผลเบื้องลึกเป็นสิ่งที่น่ากังวล ในระยะกลาง เรามีแนวโน้มที่จะเห็นความพยายามของสหรัฐฯ ต่อไปในการจำกัดการค้าและการลงทุนกับจีนในด้านเทคโนโลยีที่มีความอ่อนไหว ตลอดจนด้านความมั่นคง
สื่อมักมองเรื่องการนำไต้หวันมาเป็นส่วนหนึ่งของจีนเป็นเรื่องระยะสั้น แต่กรอบเวลาที่ผู้นำจีนกำหนดไว้สำหรับการรวมชาติคือปี 2049 ในระยะสั้นผู้นำจีนตระหนักดีว่าหากเร่งรัดทำการเช่นนั้น จะเป็นการดำเนินการที่แข็งกร้าวเกินไปและก่อให้เกิดความขัดแย้งทางทหารกับสหรัฐฯ นำมาซึ่งความเสี่ยงที่ใหญ่หลวงเกินไป
รัฐบาลจีนกระตุ้นเศรษฐกิจเพียงพอหรือไม่?
David Rees: เศรษฐกิจจีนอ่อนแอกว่าที่เราคาดไว้ และเราได้ปรับลดการคาดการณ์การเติบโตลงค่อนข้างมาก เราเห็นการเติบโตอย่างรวดเร็วของการท่องเที่ยว แต่ไม่ได้แปลไปสู่การเติบโตในวงกว้าง ที่ซึ่งน่าผิดหวัง นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างในตลาดที่อยู่อาศัยอีกด้วย ที่อยู่อาศัยเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญในการเติบโตในช่วง 10 ถึง 20 ปีที่ผ่านมา แต่นั่นเริ่มเกินความจำเป็น โดยมีอสังหาริมทรัพย์รกร้างจำนวนมากที่ผู้คนซื้อเพื่อการลงทุน สะสมปัญหาในอนาคตรวมถึงภาวะฟองสบู่ที่อยู่อาศัย
ดังนั้น รัฐบาลจึงได้ก้าวเข้ามาเพื่อพยายามแก้ไขปัญหาดังกล่าว และนั่นนำไปสู่การเติบโตที่อ่อนแอลง สิ่งที่น่าประหลาดใจก็คือ รัฐบาลดูเหมือนจะมีความอดทนต่อการเติบโตที่ช้ากว่าที่เราคิดไว้มาก มีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพียงเล็กน้อย ไม่มีมาตรการที่ขนาดใหญ่และเร่งด่วน จึงทำให้เกิดความผิดหวังในตลาด อย่างไรก็ตาม อีกด้านหนึ่งก็คือ การไม่กลับไปสู่วิถีเก่า รัฐบาลกำลังดำเนินการตามสิ่งที่เรียกว่า “การเติบโตที่มีคุณภาพ” ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงแนวทางการจัดการเศรษฐกิจของรัฐบาล
สิ่งนี้เข้ากันได้กับ “3D Reset” อย่างไร?
David Rees: Demographics ในประเทศจีนเรียกว่าแย่ จากเรื่องจำนวนประชากรกำลังลดลง ดังนั้นเพื่อชดเชย จึงจำเป็นต้องเพิ่มผลผลิต ในแง่ของ Deglobalisation จีนจึงต้องการที่จะพึ่งพาตนเองได้มากขึ้น เนื่องจากกังวลว่าจะถูกจำกัดขอบเขตจากบางด้าน เช่น เทคโนโลยีและการจัดหาเซมิคอนดักเตอร์ นอกจากนี้เรื่อง Decarbonisation ก็สอดคล้อง เนื่องจากอุตสาหกรรมของจีนนำหน้าประเทศอื่นๆ ทั่วโลก เช่น ยานพาหนะไฟฟ้าไฟฟ้า และอุปกรณ์พลังงานแสงอาทิตย์
เห็นโอกาสอะไรในจีนบ้าง?
Abbas Barkhordar: เรา Underweight ประเทศจีนมาระยะหนึ่งแล้ว เนื่องจากปัญหาข้างต้น เราคิดว่าจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจ สู่การบริโภค ภาคอสังหาฯ ยังเป็นส่วนสำคัญของเศรษฐกิจ ยังคงเป็นอยู่ แต่เห็นได้ชัดว่าไม่ใช่ตัวขับเคลื่อนการเติบโตอีกต่อไป
สิ่งที่น่าผิดหวังในปีนี้คือการขาดความเชื่อมั่นของผู้บริโภค นับตั้งแต่ช่วงล็อกดาวน์เมื่อปีที่แล้ว เนื่องจากผู้คนสูญเสียศรัทธาต่อนโยบาย Zero-Covid เมื่อสิ้นสุดนโยบายดังกล่าวไปแล้ว เราเห็นความเชื่อมั่นกลับมาเล็กน้อย แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในภาคอสังหาฯ และการขาดการเติบโต หมายความว่าเราไม่ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงมากนักในแง่ของเครื่องยนต์ของเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่สุดในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเกี่ยวข้องกับกฎระเบียบภายในประเทศ เราได้เห็นสิ่งนั้นแล้วในภาคเทคโนโลยี สุขภาพ และการศึกษา
คุณคิดว่าสถานการณ์ในจีนจะเป็นอย่างไรต่อ?
Sir Sebastian Wood: ทัศนคติทางการเมืองในประเทศจีนมีการเปลี่ยนแปลงในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา สิ่งที่เราเห็นคือจากการเติบโตทางเศรษฐกิจแบบไม่มีเงื่อนไข ไปสู่รูปแบบการกำกับดูแลทางเศรษฐกิจที่มีการจัดการและแทรกแซงมากขึ้น ซึ่งได้รับการออกแบบมาเพื่อรับประกัน “การเติบโตที่มีคุณภาพสูง”
- ประการแรกคือการลดความเสี่ยงของฟองสบู่สินทรัพย์ ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมพวกเขาจะไม่มีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่
- ประการที่สองคือการลดคาร์บอน จีนจริงจังกับการบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2563
- ประการที่สาม การจำกัดความไม่เท่าเทียมกันทางรายได้ภายใต้เกณฑ์ “ความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน”
- ประเด็นสุดท้ายที่ผมจะเน้นคือการพึ่งพาตนเอง การรับรู้ก็คือสหรัฐฯ จะไม่ยอมรับจีนที่กำลังเติบโตเป็นประเทศเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่างง่ายดาย และจะพยายามควบคุมจีน ดังนั้น จีนจึงต้องพัฒนาขีดความสามารถของตนเองในด้านต่างๆ เช่น เทคโนโลยี
ในทุกด้านเหล่านี้ ผมคิดว่าเราคาดหวังได้ว่าจะได้เห็นรัฐบาลจีนเข้ามาแทรกแซง ควบคุม และพยายามเปลี่ยนเส้นทาง เมื่อรับรู้ว่ามีโมเดลธุรกิจใหม่ๆ ที่อาจบ่อนทำลายวัตถุประสงค์หลักเหล่านั้น
David Rees: Social safety net สามารถช่วยกระตุ้นการเติบโตในจีนได้ อัตราการออมของครัวเรือนในประเทศจีนมีมหาศาล ผู้คนเก็บเงินเยอะมากเพื่อซื้อบ้านและสำรองไว้ และเนื่องจากพวกเขาอยากเก็บเงินไว้ พวกเขาจึงไม่ใช้มัน ดังนั้นถ้าหากมีการปฏิรูปที่สนับสนุนประชาชนในการใช้จ่าย ก็จะช่วยปรับสมดุลเศรษฐกิจสู่การบริโภคได้
Sir Sebastian Wood: ยังมีกลไกการปฏิรูปโครงสร้างอื่นๆ ที่ผู้นำสามารถดึงออกมาเพื่อปลดล็อกการเติบโตที่มากขึ้น เช่น การผ่อนคลายกฎเกณฑ์การอยู่อาศัยเพื่ออนุญาตให้แรงงานข้ามชาติจำนวนมากของจีนตั้งถิ่นฐานอย่างถาวรกับครอบครัว เราควรติดตามนโยบายปฏิรูปในการประชุมใหญ่ครั้งที่ 3 ของคณะกรรมการกลางที่กำลังจะมีขึ้น ซึ่งเป็นการประชุมที่แต่เดิมจะเน้นไปที่นโยบายเศรษฐกิจ
การเปลี่ยนแปลงในจีนจะมีผลกระทบต่อตลาดเกิดใหม่อื่นๆ อย่างไร
Abbas Barkhordar: แน่นอนว่าจะมีผู้ได้รับประโยชน์จากการกระจายตัวของห่วงโซ่อุปทานในจีน วิกฤตโควิดเน้นย้ำถึงอันตรายของการพึ่งพาห่วงโซ่อุปทานมากเกินไปจากประเทศเดียว
เวียดนามเป็นเรื่องราวความสำเร็จที่แท้จริง แต่ปัญหาของเวียดนามคือมีประชากร 100 ล้านคน ไม่สามารถทดแทนจีนได้ ด้วยประชากร 1.4 พันล้านคน มีประเทศที่มีประชากรสูงอื่นๆ ในเอเชีย อินเดียเป็นตัวอย่างที่โดดเด่น อย่างไรก็ตาม การดำเนินการนี้จะไม่ใช่กระบวนการข้ามคืน เป็นเรื่องยากที่จะตัดจีนออกจากห่วงโซ่อุปทานในชั่วข้ามคืนได้ มันจะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไปมากกว่า
Vera German: ประเทศที่ต้องกล่าวถึงว่าเป็นผู้รับผลประโยชน์จากการปรับห่วงโซ่อุปทานคือเม็กซิโก เม็กซิโกเป็นที่รักของทุกคนในโลกของตลาดเกิดใหม่ เนื่องจากเม็กซิโกเป็นศูนย์กลางการผลิตที่จะขายให้กับสหรัฐฯ อยู่แล้ว และยิ่งตอนนี้หากสหรัฐฯ ต้องการให้การผลิตสิ่งของที่ใช้บริโภคอยู่ใกล้บ้านมากขึ้น ก็จะยิ่งเป็นผลดี
Sir Sebastian Wood: อิทธิพลทางการเมืองของกลุ่ม BRICS (บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และแอฟริกาใต้) มักถูกประเมินสูงเกินไป ผู้เล่นสำคัญของ BRICS ได้แก่ จีนและอินเดีย ซึ่งมีข้อพิพาทชายแดนระหว่างกัน ทำให้มีความไม่ไว้วางใจต่อกัน ตอนนี้พวกเขาต้องการขยายกลุ่มโดยนำประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ขนาดใหญ่อื่นๆ เข้ามา ความเข้ากันของนโยบายก็มองว่ายิ่งเป็นเรื่องยาก
สรุป
Sir Sebastian Wood: ถ้าผมต้องสรุปทุกอย่าง ผมคงจะพูดว่า “จีนอาจจะไม่แย่อย่างที่คิด” มีความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ มีความเสี่ยงเรื่องไต้หวัน ความเสี่ยงด้านปัจจัยเชิงโครงสร้าง และการเปลี่ยนแปลงกรอบความคิดของผู้นำ แต่ปัจจัยเหล่านี้มักถูกกล่าวหาในแง่ร้ายเกินไปในสื่อตะวันตก
David Rees: การเติบโตของจีนจะช้าลงในระยะกลาง แต่ยังคงเป็นเศรษฐกิจที่เติบโตในระดับที่เหมาะสม และจะมีการพัฒนาในด้านต่างๆ และตอนนี้การมองโลกในแง่ร้ายเมื่อเทียบกับความเป็นจริงก็อาจจะเกินเลยไปหน่อย
Abbas Barkhordar: เมื่อเทียบกับที่เราเคยเป็นเมื่อ 6 เดือนที่แล้ว ผมคิดว่ายังมีการมองโลกในแง่ร้ายเกี่ยวกับจีนอีกมากมาย และนั่นส่งผลกระทบต่อเอเชียทั้งหมด แต่ผมไม่เห็นด้วยกับความเห็นที่ว่าจีนลงทุนไม่ได้ เพราะจีนเป็นตลาดที่กว้างและลึกมาก และมีโอกาสมากมาย แต่คุณต้องเลือกสรรให้มาก
Vera German: สำหรับเรา นี่เป็นโอกาสอันดีที่จะได้เจาะลึกในประเทศจีนและดูว่ามีอะไรซ่อนอยู่อีกบ้าง โอกาสมีมากขึ้นกว่าเดิม แต่แน่นอนว่าคุณต้องเลือกสรร
┏━━━━━━━━━━━━━┓
ให้ Schroders ผู้บริหารพอร์ตลงทุนระดับโลกดูแลพอร์ตของคุณ
✔️บริษัทจัดการลงทุนระดับโลก Schroders เป็นที่ปรึกษาในการจัดสรรสินทรัพย์
✔️กระจายการลงทุนอย่างยืดหยุ่น
✔️ปรับพอร์ตอัตโนมัติ
✔️ลงทุนเริ่มต้นเพียง 100,000 บาท เท่านั้น
┗━━━━━━━━━━━━━┛
อยากเริ่มลงทุนแล้ว คลิก odiniapp.co/3NZCMWQ
#odini
#แอปลงทุนกองทุนรวมอัตโนมัติ
#ลงทุนง่ายได้ทุกคน
ที่มา: Schroders, 13 ก.ย. 2023
*ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต
**การลงทุนมีความเสี่ยงผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน