เงินเฟ้อเกิดจากอะไร? จะลงไหม ? และต้องลงทุนอย่างไร ?
สวัสดีแฟนเพจ odini ทุกท่าน
ช่วงนี้กระแสข่าวเงินเฟ้อและการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางแต่ละประเทศเป็นที่พูดถึงกันอย่างมาก ทั้งในกลุ่มนักลงทุนและคนที่ตามข่าวสารปัจจุบัน วันนี้เราเลยขอสรุปภาพรวมให้เข้าใจง่ายๆ
เงินเฟ้อในหลายประเทศทั่วโลกขึ้นมาเกือบ 10% หรือบางประเทศสูงไปกว่านั้น ซึ่งเป็นระดับผิดปกติ และไม่ได้เกิดเหตุการณ์แบบนี้ระดับทศวรรษแตกต่างกันแต่ละที่ ถ้าเราได้รายได้เพิ่มขึ้นน้อยกว่านี้คืออาจแปลได้ว่าจนลง
แล้วเงินเฟ้อครั้งนี้เกิดจากอะไร? จะลดลงได้ไหม? และต้องลงทุนอย่างไรไม่ให้จนลงไปอีก?
เงินเฟ้อครั้งนี้เกิดจากอะไร
เงินเฟ้อช่วงนี้เกิดจากสองแรงกดดันหลักได้แก่ ด้านอุปทานที่ผลักต้นทุนสูงขึ้น (Cost Push Inflation) และด้านอุปสงค์หรือปริมาณความต้องการซื้อสินค้าและบริการมากกว่าที่มีในตลาด (Demand-Pull Inflation) ทั้งสองคำนี้ฟังดูชวนงงใช่ไหมครับ? ไม่ต้องห่วง เดี๋ยวผมจะย่อยด้วยภาษาง่าย ๆ ให้เอง
มาเริ่มกันที่แรงกดดันด้านอุปทาน ที่เป็นเหมือนตัวละครหลักแรกที่ทำให้เกิดเงินเฟ้อครั้งนี้กัน ถ้าให้พูดด้วยภาษาง่าย ๆ เหตุการณ์นี้คือเหตุการณ์ที่เงินเฟ้อนั้นเกิดในฝั่งต้นทุนที่ควบคุมไม่ได้ ทำให้วัตถุดิบทั้งหลายราคาขึ้นอย่างพร้อมเพรียงกันโดยไม่ได้นัดหมาย
- เอาเป็นว่า สถานการณ์ตอนนี้ วัตถุดิบที่ราคาขึ้นมีมากมาย ถ้าจะให้ยกตัวอย่างที่เห็นได้ชัดและเข้าใจง่ายที่สุดคงจะเป็น “น้ำมัน” ซึ่งหลายคนอาจจะเข้าใจว่า หน้าที่หลักของน้ำมันคือทำให้รถเคลื่อนที่ได้ แต่จริง ๆ แล้วเนี่ย น้ำมัน ยังเป็นเชื้อเพลิงที่ใช้หมุนฟันเฟืองขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เคลื่อนที่อีกด้วย
- แน่นอนว่าเมื่อน้ำมันราคาขึ้น ย่อมทำสินค้าอุปโภคบริโภคหลาย ๆ อย่าง ขึ้นราคาตามไปด้วย ทั้งทางตรงจากต้นทุนการผลิตหรือขนส่งที่เพิ่มมากขึ้นไปจนถึงทางอ้อม
- พอสินค้าและบริการหลาย ๆ อย่างแพงขึ้น เมื่อร้านค้าแบกภาระเหล่านั้นไม่ไหวก็เลือกที่จะผลักไปยังผู้บริโภค
- พอทุกคนพร้อมใจกันขึ้นราคา เหตุการณ์แบบนี้จะเกิดผลกระทบแบบลูกโซ่ สุดท้ายแล้วภาระทั้งหมดทั้งมวลเลยตกมาถึงผู้บริโภคอย่างเรา ๆ ที่ข้าวของแพงขึ้นทุกอย่างตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ
- และวัตถุดิบเหล่านั้นที่ต่างพากันราคาขึ้นก็มาจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน ที่ต่างก็เป็นแหล่งวัตถุดิบสำคัญของโลก และเมื่อนานาประเทศพากันคว่ำบาตรรัสเซียอีก รวมถึงการปิดเมืองของจีนที่เป็นหนึ่งในกลไกห่วงโซ่อุปทานสำคัญของโลก ทำให้สถานการณ์บานปลายไปอีก
พูดถึงแรงกดดันด้านอุปทานไปพอสมควรแล้ว ลืมตัวละคนตัวสำคัญอีกตัวอย่าง แรงกดดันด้านอุปสงค์ ไปกันหรือยัง สำหรับแรงกดดันด้านอุปสงค์ ถ้าให้พูดแบบสั้นและกระชับ ก็คือเงินเฟ้อที่เกิดจากความต้องการซื้อสินค้าและบริการที่เพิ่มมากขึ้น ขณะที่สินค้าและบริการมีไม่ได้มากนั่นเอง ซึ่งหลัก ๆ เกิดจาก
- ในช่วงที่มีการระบาด ในช่วงนั้นกำลังการผลิตของสินค้าต่าง ๆ ลดลง ทำให้ปริมาณสินค้าในตลาดลงลงไปด้วย ราคาจึงเพิ่มและราคาเพิ่มนี่เองทำให้ข้าวของแพงขึ้น
- แต่เหตุการณ์หลายอย่างเกิดไล่เรียงพร้อม ๆ กันในช่วงแรกของการระบาด หลาย ๆ ประเทศได้เลือกพยุงเศรษฐกิจด้วยวิธีการ “พิมพ์เงิน” มาเยียวยาและกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งไปเพิ่มความต้องการซื้อเข้าไปอีก ในเมื่อเงินในระบบมากขึ้น แต่ปริมาณสินค้ามีไม่พอ เวลาผ่านไป หลาย ๆ ประเทศก็เปิดเมือง ยิ่งซ้ำเติมเข้าไปอีกตอนจบของเรื่องนี้ก็คงไม่ต้องเดาเลยว่าข้าวของราคาจะแพงขึ้นหรือถูกลง
นอกจากแรงกดดันด้านอุปทานและอุปสงค์ข้างต้นแล้ว ยังมีแรงกดดันที่ก็สำคัญไม่แพ้กันนั่นก็คือเงินเฟ้อที่เกิดจากการคาดการณ์ (Built-in Inflation) เมื่อเงินเฟ้อคาดการณ์จะสูงมากกว่าค่าแรงของลูกจ้างที่เพิ่มขึ้น เขาก็คิดว่าจะกระทบค่าครองชีพความเป็นอยู่ จึงทำให้เรียกร้องค่าแรงเพิ่ม ทำให้นายจ้างก็ต้องขึ้นราคาของ ของก็แพงขึ้นไปอีก และเมื่อทุกคนคาดว่าเงินเฟ้อจะสูงขึ้นไปเรื่อย ๆ ก็จะนำต้นทุนต่าง ๆ ไปบวกเพิ่มในราคาของ เงินเฟ้อก็ยิ่งเกิดขึ้นรุนแรงไปอีก เกิดแบบนี้เป็นลูกโซ่ และผลพวงที่สุดแต่จะจิตนาการ นั่นคือก็เกิดจากการคาดการณ์ว่าจะเกิดจนทำให้เกิดขึ้นจริงได้ด้วย
แล้วคำถามคือ จะมีอะไรที่พอจะช่วยบรรเทาวิกฤตเงินเฟ้อครั้งนี้ลดลงได้บ้าง?
องค์กรที่คอยเฝ้าระวังเรื่องเงินเฟ้ออย่างใกล้ชิด คือธนาคารกลางของแต่ละประเทศ ซึ่งอาวุธที่เอาไว้ใช้ต่อสู้กับเงินเฟ้อก็คือการขึ้นดอกเบี้ยและลดสภาพคล่องถึงแม้การขึ้นดอกเบี้ยจะแก้ปัญหาได้ไม่หมด แต่มันก็ยังดีกว่าการไม่ทำอะไรเลย โดยอย่างน้อยก็ช่วยลดความร้อนแรงปัจจัยด้านอุปสงค์และการคาดการณ์เงินเฟ้อในอนาคต
โดยที่กลไกของการขึ้นดอกเบี้ยทำได้คือการลดปริมาณเงินในระบบลง ไม่ให้เงินเฟ้ออยู่ในระดับสูงเป็นเวลานาน เนื่องจากถ้าเงินเฟ้ออยู่ในระดับสูงเป็นเวลานาน พอสินค้าแพงขึ้น คนส่วนใหญ่จะขึ้นราคาสินค้าและบริการไปเรื่อย ๆ เพื่อสู้กับเงินเฟ้อ กลายเป็นวัฏจักรที่ไม่จบไม่สิ้น จนทำให้เงินเฟ้อแก้ยากจนเกินไปนั่นเอง
นอกจากนี้เองหากสถานการณ์ความตึงเครียดในยูเครนคลี่คลายลงหรือจีนที่ค่อย ๆ ยกเลิกปิดเมือง ก็จะช่วยบรรเทาเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี
ช่วงเงินเฟ้อแบบนี้ ฟังดูไม่น่าจะลงทุนได้เลย แต่จริง ๆ แล้วมันยังมีช่องทางให้ลงทุนได้อยู่ ถ้าพร้อมแล้ว ตามผมมา
ต้องลงทุนอย่างไร ในสถานการณ์แบบนี้?
ในภาวะเงินเฟ้อ เพื่อน ๆ ยังสามารถทำการลงทุนได้นะ เพียงแต่ อาจจะต้องเลือกสินทรัพย์สักหน่อย ซึ่งสินทรัพย์ที่ว่าก็ คือ
- บริษัทที่สามารถขึ้นราคาสินค้าได้ง่าย ๆ ตามเงินเฟ้อ/ผลักภาระต้นทุนสู่ผู้บริโภคได้/บริษัทต้นน้ำ
- บริษัทที่มี Valuation ไม่ตึงตัว หนี้ต่ำ กระแสเงินสดมีความมั่นคง
- สินทรัพย์ของประเทศที่มีเสถียรภาพด้านต่างประเทศสูง ไม่อ่อนไหวต่อการที่เงินทุนไหลออก
- สินทรัพย์ที่มีลักษณะ Defensive หรือผลประกอบการมีความอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจต่ำ
- สินทรัพย์ปลอดภัย
แต่พูดมาหยาวเหยียดขนาดนี้ จะให้ไปไล่หาดูรายบริษัท คงฟังดูเป็นงานหนักไม่ใช่น้อย และเหมือนเช่นเคย มีหรือที่จะให้คนพิเศษอย่างคุณต้องไปขุดคุ้ยหุ้นรายตัว เพราะพวกเรามีบริการอย่าง odini BLACK Ultimate Allocation คัดมาให้แล้วพร้อมกับพอร์ตที่ถูกออกแบบมาอย่างดี มีความคล่องตังสูง พร้อมลุยไม่ว่าจะเงินเฟ้อหรือเงินฝืด
ลงทุนในสินทรัพย์ฝ่าวิกฤตเงินเฟ้อไปกับ odini BLACK Ultimate Allocation
odini BLACK Ultimate Allocation เป็นพอร์ตการลงทุนที่มีนโยบายการลงทุนคาดหวังผลตอบแทนประมาณ 6% ต่อปี โดยถูกออกแบบมาให้มีความคล่องตัวเป็นพิเศษ สามารถปรับระดับความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนให้เหมาะกับการเปลี่ยนแปลงของสภาวะตลาดในแต่ละช่วงเวลา รวมถึงการมองหาโอกาสและทางเลือกใหม่ ๆ ในการลงทุนอยู่เสมอ ให้นักลงทุนทุกท่านลงทุนอย่างมั่นใจและปลอดภัยไปพร้อม ๆ กัน
หากสนใจ ลงทุนผ่านพอร์ต odini BLACK Ultimate Allocation อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ LINE
odini แอปลงทุนอัตโนมัติในกองทุนรวม ด้วย Robo-advisor