พานั่งไทม์แมชชีนย้อนดูเส้นทางการเติบโตของเศรษฐกิจจีน ตั้งแต่หลับใหลยันตื่นเต็มตา
เพิ่งเริ่มต้นขึ้นเท่านั้นสำหรับการประชุมพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่จัดขึ้นทุก ๆ 5 ปี ซึ่งทั่วโลกต่างจับตามอง ส่วนหนึ่งต้องยอมรับว่าในปัจจุบัน จีนได้ก้าวเท้าขึ้นมาเป็นประเทศมหาอำนาจในหลายด้าน ทั้งตัวเลข GDP ที่มีขนาดใหญ่เป็นรองเพียงแค่สหรัฐฯ (จีนถือเป็นอันดับหนึ่งแล้วตั้งแต่ปี 2014 หากวัดด้วยอำนาจซื้อที่แท้จริง) หรือแม้กระทั่งในด้านเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่จีนสามารถคิดค้นและพัฒนาขึ้นมาใช้งานได้เองเพื่อลดการพึ่งพาต่างชาติ อาทิ รถยนต์ไฟฟ้า เซมิคอนดักเตอร์ เป็นต้น จากจุดเริ่มต้นที่เป็นประเทศทำเกษตรกรรมเหมือนประเทศอื่นทั่ว ๆ ไป
แต่กว่าที่จีนจะยิ่งใหญ่เกรียงไกรเฉกเช่นวันนี้ได้ ต้องขอบอกเลยว่าเบื้องหลังไม่ง่ายอย่างที่เห็น ว่าแล้วคราวนี้เราขออนุญาตพานักลงทุนทุกท่านไปไล่เลียงประวัติศาสตร์ของจีน ว่ากว่าจะก้าวขึ้นมาเป็นมหาอำนาจอย่างทุกวันนี้ จีนต้องผ่านการเปลี่ยนแปลงอะไรมาบ้าง ขอใบ้ก่อนเลยว่าแนวคิดการดำเนินนโยบายหลายเรื่องที่เกิดขึ้นในตอนนี้ก็ได้เคยเกิดขึ้นแล้วในอดีต และสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตเหล่านี้เองย่อมทิ้งบทเรียนไว้ให้อนาคตเสมอ
.
⛰️การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ใช่ว่าจะราบรื่น
เริ่มต้นย้อนกลับไปภายหลังจากที่ เหมา เจ๋อตง ประธานพรรคคอมมิวนิสต์ ได้ขึ้นเป็นผู้นำสูงสุดของจีน ประธานเหมาได้เริ่มนโยบายหลายด้านใช้หลักคิดของความเท่าเทียม
นอกเหนือจากนั้นเอง ในตอนนั้นนโยบายที่โด่งดังคงหนีไม่พ้นนโยบาย “Great Leap Forward” หรือที่แปลเป็นไทยว่า “การกระโดดไกล” นั่นคือความต้องการของรัฐบาลที่จะทำให้ประเทศได้มีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดทัดเทียมชาติตะวันตก โดยได้ให้ความสำคัญกับภาคอุตสาหกรรมจนละเลยด้านอื่นโดยเฉพาะด้านผลผลิตทางการเกษตรอย่างอาหาร และไม่ได้ให้ความสำคัญกับการใช้เทคโนโลยีมากนัก
ท้ายที่สุดเศรษฐกิจเติบโตไปอย่างไม่สมดุล และได้มีการคาดว่าผู้คนหลายสิบล้านคนต้องล้มตายจากภัยความอดอยากที่เกิดขึ้น เศรษฐกิจก็ไม่ได้เติบโตอย่างที่ต้องการ ทุกอย่างสะท้อนถึงความผิดพลาดในการบริหารจัดการ
เมื่อถึงวันที่ประธานเหมาปกครองได้สิ้นสุดลง ส่งผลให้ผู้นำคนต่อมามองว่า ความเป็นอยู่ของคนจีนและสภาพเศรษฐกิจ เป็นเรื่องที่ต้องจัดการอย่างเร่งด่วน ผู้นำคนที่ว่า เติ้ง เสี่ยว ผิง
.
🌎พอแล้วกับความอดอยาก เปิดประเทศ อาศัยการดึงต่างชาติมาลงทุน ฟื้นฟูเศรษฐกิจ
ในช่วงปี 1980 เติ้ง เสี่ยว ผิง ต้องการฟื้นฟูเศรษฐกิจที่บอบช้ำอย่างรวดเร็วที่สุด แต่ตอนนั้นจีนแทบจะไม่มีอะไรที่ทัดเทียมนานาชาติได้เลย แต่ด้วยการมองอย่างเฉียบขาดของผู้นำท่านนี้ ที่เลือกเดินกลยุทธ์เปิดประเทศเพื่อหวังอาศัยเม็ดเงินลงทุนจากต่างชาติให้เข้ามาทำการลงทุนในจีน โดยดอกผลของนโยบายมีดังนี้
1980–1984 ก่อตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษแถบบริเวณชายฝั่ง ได้แก่ เซินเจิ้น จูไห่ ซัวเถา เซี่ยเหมิน และเกาะไห
หลำ
1990–1991 มีการก่อตั้งตลาดหลักทรัพย์เซี่ยงไฮ้และเซินเจิ้น
1994 Shandong Huaneng บริษัทสัญชาติจีนแรกที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ NYSE ในสหรัฐฯ
เมื่อเดินทางมาถึงตรงนี้ ขณะเดียวกันในเส้นทางการพัฒนาด้านสังคม จีนได้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างยิ่งเห็นได้ชัดจากการยกระดับประชาชนมากกว่า 400 ล้านคน พ้นออกจากความยากจน
.
🚩จีนในศตรวรรษที่ 21 เสริมแกร่งเทคโนโลยี ลดการพึ่งพาต่างชาติ สร้างความเสมอภาคทุกภาคส่วนอย่างทัดเทียม
หลังจากมีปล่อยให้การค้าขายเป็นไปตามกลไกตลาด ทำให้เราเห็นบริษัทดัง ๆ จากจีนอย่าง Tencent Alibaba หรือ Huawei ได้เติบโตจนเริ่มเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเรา
ในส่วนภาพรวมเศรษฐกิจของจีนมีความแข็งแกร่งขึ้นอย่างมาก รวมไปถึงเทคโนโลยีหลังบ้านอย่าง Hard Technologies ที่ทางการสนับสนุนด้วยเม็ดเงินมหาศาลเพื่อลดการพึ่งพาต่างชาติ
แต่ในด้านสังคม การที่เศรษฐกิจจีนพัฒนาอย่างก้าวกระโดดนั้นได้เปิดช่องว่างของความเหลื่อมล้ำขึ้น ทำให้ในช่วงหลังเรามักจะได้เห็นนโยบายที่เน้นไปในทิศทางที่สร้างความเสมอภาคควบคู่ไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างในอดีต
ซึ่งนโยบายสำคัญในยุคใหม่ที่แทบจะเรียกได้ว่าเป็นรากฐานของการพัฒนามีดังนี้
2001 จีนเข้าร่วมองค์การการค้าโลก (WTO)
2006 จีนริเริ่มแผนระยะกลาง-ยาว 15 ปี โดยเน้นไปที่การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
(ภายใต้การนำของ สี จิ้นผิง ประธานคนปัจจุบัน)
2013 เริ่มต้นแผน Belt and Road Initiative จุดประสงค์คือสร้างเส้นทางการค้าระหว่างประเทศในภูมิภาค เชื่อมต่อภาคีกว่า 152 ประเทศ ตั้งเป้าหมายแล้วเสร็จภายในปี 2049
2015 นโยบาย Made in China 2025 เปลี่ยนจีนจากโรงงานของโลกเป็นผู้ผลิตที่ทันสมัย ไม่ว่าจะในสาขาเทคโนโลยีขั้นสูง การแพทย์ขั้นสูง หุ่นยนต์จักรกล ไปจนถึงอวกาศ
2019 มีการก่อตั้งกระดาน STAR Market (Shanghai Stock Exchange Science and Technology Innovation Board) สำหรับเป็นที่ระดมทุนบริษัทด้านวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีโดยเฉพาะ
2021 จีนได้เริ่มนโยบาย Common Prosperity หรือนโยบายรุ่งเรืองร่วมกัน โดยเน้นไปที่การควบคุมไม่ให้มีธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งผูกขาดสร้างความเหลื่อมล้ำมากเกินไป
2021 การยกเลิกนโยบายบุตรคนเดียว เปลี่ยนแปลงเป็นสามารถมีบุตร 3 คน
2021 มีการก่อตั้งตลาดหลักทรัพย์ปักกิ่ง
หลักฐานความสำเร็จของนโยบาย คงจะหนีไม่พ้นตัวเลข GDP ของจีนในปี 1981 จนถึงปี 2021 มีเติบโตขึ้นมากว่าราว 90 เท่า คิดเป็นรายได้ต่อหัวถึง 60 เท่า ในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา
จากเรื่องราวทั้งหมด จะเห็นได้ว่ากว่าที่จีนจะมาถึงจุดนี้ได้นั้น ระหว่างทางอาจมีล้มลุกคลุกคลานจากดำเนินนโยบายที่ผิดพลาดไปบ้าง เพียงแต่พวกเขาเรียนรู้และปรับตัว จนสุดท้ายสามารถก้าวข้ามความผิดพลาดตรงนั้นขึ้นมาเป็นมหาอำนาจอย่างที่ทุกท่านเห็นกันเช่นวันนี้ และเป็นที่น่าติดตามเหลือเกินว่าการเปลี่ยนแปลงหลังจากนี้จะมีหน้าตาเป็นอย่างไร
.
🗝️ให้ odiniBLACK Ultimate Allocation ตามหาจังหวะที่ใช่ การลงทุนที่ชอบให้คุณ
นโยบายการลงทุนที่สามารถปรับระดับความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนให้เหมาะกับการเปลี่ยนแปลงของสภาวะตลาดในแต่ละช่วงเวลา เพิ่มความยืดหยุ่นด้วยการทยอยเพิ่มหรือลดน้ําหนักการลงทุนให้เหมาะสม ดำเนินการโดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญ ที่สำคัญคือมีการปรับพอร์ตอัตโนมัติ ทำให้ปรับเปลี่ยนสถานะการลงทุนเป็นไปได้อย่างทันท่วงที เพื่อให้นักลงทุนไม่พลาดการลงทุนที่ดีที่สุดในแต่ละช่วง
#odini
#แอปลงทุนกองทุนรวมอัตโนมัติ
#ลงทุนง่ายได้ทุกคน
ถ้าเพื่อน ๆ สนใจอยากลงทุนแล้ว ดาวน์โหลดแอปได้ที่ odiniapp.co/3NZCMWQ
*ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต
**การลงทุนมีความเสี่ยงผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้าเงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน