เงินเฟ้อพุ่ง ดอกเบี้ยพรวด ปรับพอร์ตอย่างไรให้รอด?
เงินเฟ้อพุ่ง ดอกเบี้ยพรวด ปรับพอร์ตอย่างไรให้รอด?
ปัจจุบันธนาคารกลางทั่วโลกต่างก็พยายามทุกวิถีทางเพื่อสกัดเงินเฟ้อที่พุ่งทะยาน แต่การกระทำดังกล่าวอาจมีผลข้างเคียงคือการที่เศรษฐกิจเข้าสู่สภาวะถดถอย จึงเกิดคำถามที่ว่า ควรปรับพอร์ตอย่างไรเพื่อให้รอดพ้นจากสถานการณ์ที่ยากลำบากเช่นนี้ไปได้? คำถามที่ว่านี้ทาง Schroders มีคำตอบ
ไปไขคำตอบพร้อมกันได้เลย
รายประเภทสินทรัพย์
หุ้น: Negative
เนื่องจากตลาดมีความกังวลต่อการปรับขึ้นของดอกเบี้ยรวมไปถึงความเสี่ยงเกิดสภาวะถดถอยของเศรษฐกิจ
ตราสารหนี้รัฐบาล: Neutral
เนื่องจากตลาดค่อย ๆ เริ่มรับรู้การใช้นโยบายการเงินแบบเข้มงวด (นโยบายการเงินแบบเข้มงวด หมายถึง สถานการณ์ที่สภาพคล่องในตลาดการเงินหดหายดังที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน)
ตราสารหนี้ที่มีเครดิต: Neutral
ภายใต้ความกังวลของการเกิด “Stagflationary” (ภาวะเศรษฐกิจโตแผ่วลง มาพร้อมกับเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้นและอัตราว่างงานอยู่ในระดับสูง) มุมมองยังระมัดระวังในการลงทุนสินทรัพย์กลุ่มนี้ โดยชื่นชอบกลุ่มที่มีคุณภาพสูงในตลาดพัฒนามากกว่าตลาดกำลังพัฒนา
สินค้าโภคภัณฑ์: Positive/Neutral
เนื่องจากความเสี่ยงเชิงภูมิรัฐศาสตร์รัสเซีย-ยูเครนเร่งตัว กอปรกับความไม่สมดุลระหว่างอุปทานและอุปสงค์ ที่ยังคงเป็นปัจจัยสนับสนุน
หุ้น
หุ้นสหรัฐฯ: Negative
เนื่องจาก Valuation อยู่ในระดับสูง เพราะนั่นหมายถึงความอ่อนไหวต่อการถอนสภาพคล่องออกของธนาคารกลาง รวมทั้งการต้องมีส่วนชดเชยความเสี่ยงของการถือลงทุนที่สูง (ส่วนชดเชยความเสี่ยงหมายถึงผลตอบแทนของสินทรัพย์นั้น ๆ ส่วนเกินจากสินทรัพย์ที่ไร้ความเสี่ยงเช่นเงินสด)
หุ้นยุโรป: Negative
ยังคง Negative ถึงแม้โมเมนตัมของผลประกอบการอาจอยู่ในจุดต่ำที่สุดแล้ว แต่ยังประเมินว่าข่าวร้ายจากสงครามรัสเซีย-ยูเครนที่ส่งผลถึงราคาหุ้นของภูมิภาคยังไม่สิ้นสุด
หุ้นญี่ปุ่น: Neutral
โดยยังคง Neutral เนื่องจากรอดูสถาณการณ์หากญี่ปุ่นสามารถเลี่ยงการเกิดภาวะ Deflation (การที่ราคาสินค้าและบริการของผู้บริโภคลดลงหรือภาวะที่เงินเฟ้อที่หายไป) ได้ แม้เงินเฟ้อช่วงหลังปรับตัวขึ้นได้แต่ส่วนหนึ่งเป็นผลจากค่าเงินเยนที่อ่อนตัวลงจากนโยบาย “Yield Curve Control” ซึ่งการอ่อนค่าของเงินเยนนี้ได้ทำให้ต้นทุนนำเข้าสินค้าและบริการปรับตัวสูงขึ้น
หุ้นตลาดเกิดใหม่: Neutral
ถึงแม้ราคาสินทรัพย์ดังกล่าวของภูมิภาคจะไม่สามารถต้านทานต่อสภาพคล่องของตลาดการเงินที่ลดลง แต่ยังคง Neutral เนื่องจาก Valuation ที่น่าสนใจ
หุ้นตลาดเกิดใหม่เอเชีย ยกเว้นจีน: Negative
เชื่อว่าภูมิภาคอื่นในกลุ่มตลาดเกิดใหม่มีความน่าสนใจมากกว่า
หุ้นจีน: Neutral
การล็อคดาวน์และการเกิดคอขวดของอุปทานในจีนยังเป็นปัจจัยเสี่ยง อย่างไรก็ตาม ผู้ดำเนินนโยบายให้คำมั่นสนับสนุนการใช้นโยบชายเชิงผ่อนคลายเพื่อสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจ
ตราสารหนี้
ตราสารหนี้รัฐบาลสหรัฐฯ: Neutral (ปรับดีขึ้นจากเดือนก่อน)
เนื่องจากอัตราผลตอบแทนปรับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากการควบคุมเงินเฟ้อ ซึ่งเป็นสิ่งที่ Fed ให้สำคัญอันดับแรก
ตราสารหนี้รัฐบาลสหรัฐฯ แบบชดเชยเงินเฟ้อ: Negative
เนื่องจากความไม่แน่นอนของความตึงเครียดรัสเซีย-ยูเครนที่อาจผ่านจุดรุนแรงที่สุดไปแล้วและ Fed ให้ความสำคัญกับการควบคุมเงินเฟ้อมากที่สุด
ตราสารหนี้อันดับเครดิตน่าลงทุนสหรัฐฯ: Positive (ปรับดีขึ้นจากเดือนก่อน)
เนื่องจากปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่ง และ Valuation น่าสนใจ
ตราสารหนี้อันดับเครดิตไม่น่าลงทุนสหรัฐฯ: Negative (ปรับแย่ลงจากเดือนก่อน)
เนื่องจาก Valuation และให้ส่วนชดเชยอยู่ในระดับที่ไม่น่าสนใจ ภายใต้สถาวะตลาดปัจจุบัน
ตราสารหนี้อันดับเครดิตน่าลงทุนยุโรป: Positive
เนื่องจาก Valuation น่าสนใจ กอปรกับความผันผวนของอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง
ตราสารหนี้อันดับเครดิตไม่น่าลงทุนยุโรป: Neutral (ปรับแย่ลงจากเดือนก่อน)
เนื่องจากไม่มีนโยบายสนับสนุนที่เห็นได้ชัดจาก ECB ที่ปัจจุบันมุ่งให้ความสำคัญต่อการปรับขึ้นดอกเบี้ยและการสิ้นสุดการดำเนินการผ่อนคลายเชิงปริมาณหรือการซื้อสินทรัพย์
ตราสารหนี้อันดับเครดิตน่าลงทุนกลุ่มตลาดเกิดใหม่: Neutral
เนื่องจาก Valuation ไม่น่าสนใจโดยเปรียบเทียบกับภูมิภาคอื่น
สินค้าโภคภัณฑ์
พลังงาน: Neutral
เนื่องจากถึงแม้อุปทานในตลาดมีจำกัดลง แต่การล็อคดาวน์ในจีนยังเป็นตัวฉุดรั้งอุปสงค์
ทองคำ: Positive
เนื่องจากราคาทองคำมีแนวโน้มที่จะยืนได้ในสภาวะแวดล้อมของการขึ้นดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นพร้อมกับความตึงเครียดเชิงภูมิรัฐศาสตร์
โลหะอุตสากรรม: Positive
ถึงแม้การล็อคดาวน์ในจีนเป็นตัวฉุดรั้งอุปสงค์ การดำเนินนโยบายเชิงผ่อนคลายยังเป็นตัวสนับสนุน นอกจากนี้ความตึงเครียดรัสเซีย-ยูเครนยังเป็นตัวสร้าง Upside surprise ได้ เนื่องจากรัสเซียเป็นผู้ผลิตรายใหญ่
สินค้าเกษตรกรรม: Positive
อินเดียได้จำกัดการส่งออกข้าวสาลีหลังจากการเผชิญคลื่นความร้อนที่รุนแรงส่งผลถึงความเสียหายต่อพืชผล ซึ่งยังรุนแรงขึ้นอีกด้วยภาวะขาดแคลนอุปทานสินค้ากลุ่มดังกล่าวของโลกและราคาขึ้นจากสงครามในยูเครน
ให้ Schroders ผู้บริหารพอร์ตลงทุนระดับโลกดูแลคุณแบบ “ซุปเปอร์วีไอพี”
นโยบายการลงทุนภายใต้แอปพลิเคชัน odini ผ่านชื่อพอร์ต Schroders Growth & Income ที่บริษัทจัดการลงทุนระดับโลกอย่าง Schroders เป็นที่ปรึกษาในการจัดสรรสินทรัพย์ ด้วยกลยุทธ์กระจายการลงทุนแบบยืดหยุ่นไม่มีข้อจำกัด ด้วยการปรับสัดส่วนการลงทุนให้เข้ากับสถานการณ์และสภาวะตลาดที่เปลี่ยนแปลง เพื่อลดความผันผวนและเพิ่มโอกาสในการสร้างผลตอบแทน ไม่ว่าภาวะตลาดจะมีความท้าทายมากน้อยเพียงใด
อยากรู้ข้อมูลเกี่ยวกับพอร์ตนี้เพิ่มเติม ไปที่ LINE @odini มีทั้งข้อมูลและคอนเท้นต์การลงทุนแบบสดใหม่อัปเดตเรื่อยๆ เลยครับ
#odini
#แอปลงทุนกองทุนรวมอัตโนมัติ
#ลงทุนง่ายได้ทุกคน