Schroders Growth & Income ปรับพอร์ตรับมือ Supply Disruption และ Stagflation

Schroders Growth & Income ปรับพอร์ตรับมือ Supply Disruption และ Stagflation

สภาวะการลงทุนตอนนี้ไม่ต่างจากการที่เราล่องเรืออยู่ท่ามกลางมรสุม ที่ไม่ว่าจะมีลมพายุกรรโชก คลื่นกระแทกรุนแรงขึ้นลง สายฝนตกหนักพาทัศนวิสัยขมุกขมัวจากหลายๆ ประเด็น ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง สงครามรัสเซียยูเครน โอมิครอนในจีน SupplyDisruption (ภาวะชะงักงันของอุปทาน) ไปจนถึงความเสี่ยงของการเกิด Stagflation (ภาวะเศรษฐกิจโตชะลอตัวจนถึงหดตัวขณะที่มีอัตราเงินเฟ้อสูง) อีกทั้งอาจจะยังเจอกับ การดำเนินนโยบายแบบเข้มงวด ของธนาคารกลางหลายประเทศทั่วโลก ดังนั้นความไม่แน่นอนมากมายขนาดนี้ การลงทุนในระยะข้างหน้าโดยเฉพาะปีนี้อาจจะไม่ง่ายเหมือนปีก่อน ๆ ที่ตลาดปรับตัวขึ้นมาตลอด

 

 

นักลงทุนจึงอาจจะเกิดคำถามในใจว่าแล้วแบบนี้ ควรจะรอให้ตลาดมีความชัดเจนก่อนค่อยกลับมาลงทุนดีหรือเปล่า ? 

 

ถ้าเราลองไปถามนักวิเคราะห์หรือผู้ที่ลงทุนในตลาดหลาย ๆ ท่านอาจจะได้คำตอบที่แตกต่างกันออกไป และอาจจะไม่มีใครที่จะสามารถบอกเราได้ถูกต้อง 100% แต่ถ้าเรามาดูข้อมูลจากอดีตจะพบว่าการจัดพอร์ตการลงทุนจะสามารถช่วยให้ผลตอบแทนได้ดีกว่าการจับจังหวะการลงทุนโดยเฉพาะกับเพียงรายสินทรัพย์ สำหรับนักลงทุนที่มีประสบการณ์และมีเวลาในการติดตามตลาดการลงทุนอย่างต่อเนื่อง อาจจะทำการจัดพอร์ตการลงทุนเองได้ไม่ยาก แต่สำหรับมือใหม่หรือผู้ที่ไม่มีเวลาในการติดตามการลงทุน ทางodiniมีทีมผู้จัดการกองทุนระดับโลกอย่าง Schroders ที่มีประสบการณ์การบริหารกองทุนมาอย่างยาวนานเข้ามาช่วยจัดพอร์ตและให้คำแนะนำในการลงทุนผ่านพอร์ต Schroders Growths & Income ด้วยกลยุทธ์กระจายการลงทุนแบบยืดหยุ่น ไม่มีข้อจำกัด ผ่านแนวคิด Growth & Income ที่ได้เปิดตัวไปเมื่อวันที่ 31 มี.ค. 2022

 

 

มุมมองและการปรับพอร์ตรับมือของ Schroders Growth & Income 

 

ในช่วงสัปดาห์ให้ท้ายเดือนมีนาคม 2022 รัสเซียได้ประกาศความสำเร็จจากการรุกสงครามขั้นแรก อาทิ การประกาศรับรองเอกราชของดอนบาส ยูเครนเองก็ได้ตระเตรียมการเจรจาเพื่อให้เหตุการณ์เป็นไปอย่างสงบ 

 

อย่างไรก็ตาม ผลลัพธ์อาจจะไม่ออกมาเป็นลักษณะหัวหรือก้อย เหตุการณ์สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา การกระจายสถานะการลงทุนในหลากหลายสินทรัพย์จะช่วยลดความผันผวนและปกป้องพอร์ตของนักลงทุนได้ ทางทีม Schroders จึงได้มีการปรับสัดส่วนการลงทุนดังนี้

 

๐ ตราสารทุน :

ชื่นชอบกลุ่มคุณค่าและกลุ่มจ่ายปันผลในระดับสูงที่มีแนวโน้มเป็นเกราะกำบัง และสามารถปรับตัวได้ดีจากประเด็นเงินเฟ้อที่ปรับเพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้ยังคงยึดมั่นในปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่งและกระแสเงินสดที่มีเสถียรภาพ

 

๐ ตราสารหนี้ : 

ตลาดได้รับรู้การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ Fed ที่ระดับ 2.00% – 2.25% ที่จะเกิดในปีนี้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยได้สะท้อนออกมาในราคาตราสารหนี้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว รวมถึงการดำเนินนโยบายแบบเข้มงวดน่าจะใกล้อยู่ในระดับสูงสุดแล้ว ทำให้หลังจากนี้การลงทุนในตราสารหนี้น่าจะเริ่มดูดีขึ้น

 

๐ กลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์และทองคำ : 

มีการเพิ่มสัดส่วนการลงทุนเพื่อที่จะได้ประโยชน์จากโอกาสที่ความตึงเครียดด้านภูมิรัฐศาสตร์ รัสเซีย-ยูเครน และโอมิครอน มีความรุนแรงเพิ่มขึ้น

 

๐ สินทรัพย์สภาพคล่องสูง :

พอร์ตการลงทุนมีการถือครองอยู่ในระดับค่อนข้างสูง ซึ่งจะถูกนำมาใช้ในสภาวะที่ทางทีมมองเห็นโอกาสในการปรับตัวเพิ่มขึ้นของสินทรัพย์เสี่ยง

 

 

หากอยากลงทุนต้องทำอย่างไร

เพียงโหลดแอปแล้วเริ่มลงทุนกันเลย  หรือเข้าไปพูดคุยสอบถามข้อมูลกันต่อได้เลยที่ LINE @odiniapp 

 

 

#odini
#แอปลงทุนกองทุนรวมอัตโนมัติ
#ลงทุนง่ายได้ทุกคน

——————————————————

ที่มา Schroders, 31 มีนาคม 2022

No Comments

Sorry, the comment form is closed at this time.