ปีนี้จะลงทุนอย่างไรให้ “รอด” ท่ามกลางวิกฤติโลก จากมุมมองจาก บลจ.ระดับโลกอย่าง Schroders
สรุปประเด็นจากกงานสัมมนาการเปิดตัวพอร์ต Schroders Growth & Income
ดูย้อนหลังได้ที่ Link : odiniapp.co/liveschroders
หรืออ่านสรุปด้านล่างได้เลย
—————-—————-
Speaker
คุณอาร์ต อาทิตย์ ทองเจริญ Head of Thailand Business, Schroders
คุณหลวง พสุ ลิปตพัลลภ Co-founder, Robowealth
คุณกาน พงศธร ต่อจรัส, CFA, Business and Product Development, Robowealth
พิธีกร คุณเพชร รตะ โพอุทัย
—————-—————-
#ประเด็นที่1
#คุณเพชร : มุมมองการลงทุนช่วงสงครามเป็นอย่างไร
#คุณหลวง : สิ่งแรกที่เห็นได้ชัดเลยก็คือช่วงเวลา 1-2 ปีที่ผ่านมา มีการอัดฉีดเข้าเงินในระบบเยอะมากนับจากการเกิดโควิด-19 มีการเติบโตของราคาสินทรัพย์ทุกประเภท ไม่นานมานี้เจอเรื่องการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed ซึ่งคิดว่าขึ้นช้าไป เพราะตอนนี้เงินเฟ้ออยู่ที่ 5% และดอกเบี้ยคาดว่าอาจจะขึ้นไปถึง 3.2% หรือ 3.5% ได้ แต่การขึ้นดอกเบี้ยก็จะกระทบหลายอย่าง เช่น ราคาหุ้นเทคฯ ที่มีการเปลี่ยนแปลง
เรื่องที่ 2 คือเรื่องสงครามรัสเซีย-ยูเครนที่จะเกิดขึ้นโดย GDP เป็นเพียง 2 % ของ GDP โลก แต่แป้ง อาหาร สินค้าทางการเกษตร แร่ และน้ำมัน เป็นส่วนสำคัญของโลก ยิ่งมาเจอเรื่องเงินเฟ้อกับสงคราม ทุกอย่างยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นมา เงินเฟ้อขึ้นไปสูงขึ้น ราคาสินค้าแพงขึ้น และไหนจะเรื่องของบทลงโทษที่จะเกิดขึ้นอีก ที่ถึงแม้สงครามจบ แต่บทลงโทษที่เกิดขึ้นก็ยังไม่จบ เหมือนที่ผ่าน ๆ มาที่บทลงโทษในสงครามต่าง ๆ ยังส่งผลมาถึงทุกวันนี้
#คุณอาร์ต : เห็นในรูปแบบเดียวกันกับคุณหลวง มองว่าปีที่แล้วยังลงทุนไม่ยากมากนัก ทุกคนคาดหวังว่าปีนี้จะสดใส แต่จะเห็นได้ชัดเจนเลยว่า 3 เดือนแรกที่ผ่านมาค่อนข้างเงียบเหงา นักลงทุนไปกันไม่ค่อยถูก ดังนั้นเวลาจัดพอร์ตจึงพยายามมองข้ามในระยะสั้น ไปดูในระยะปานกลาง แต่ในตอนนี้ก็คงจะเป็นไปได้ยาก เพราะยิ่งเจอเรื่องสงคราม กับ Fed ขึ้นดอกเบี้ยจากเงินเฟ้อสูง อาจจะเกิดภาวะ Stagflation (เศรษฐกิจชะลอตัว ว่างงานสูง มาพร้อมกันเงินเฟ้อ) เข้ามาอีก
ดังนั้น มุมมองในการจัดพอร์ตของเราจึงมีการปรับลดสัดส่วนของหุ้นลงมาเล็กน้อย เนื่องจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน กับการขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่สอดคล้องในหลาย ๆ ประเทศ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้เป็นปัจจัยลบต่อหุ้น เราจึงปรับลดลงมา โดยเฉพาะหุ้นกลุ่มยุโรปที่มีความใกล้ชิดกับรัสเซีย และอีกอันที่ปรับลดสัดส่วนลงมาก็คือ พันธบัตรรัฐบาล เนื่องจากหากอัตราผลตอบแทนปรับตัวสูงขึ้น พันธบัตรรัฐบาลโดยเฉพาะที่อายุยาวได้รับผลกระทบครับ
ด้วยสถานการณ์ปัจจุบัน เรามองว่าพวกสินค้าโภคภัณฑ์ ค่อนข้างเป็นพระเอก จึงได้เพิ่มสัดส่วนการถือมากขึ้น เพราะหลังสงครามเกิดขึ้น คนเริ่มหันไปหาไปลงทุนทองคำ ซึ่งสงครามส่งผลต่อพลังงาน การเกษตร ที่ค่อนข้างไปได้ดีในปัจจุบัน ดังนั้นจึงหันไปลงทุนในส่วนนี้
สุดท้ายคือ ตราสารหนี้ของภาคเอกชน ที่ได้มีการปรับสัดส่วนขึ้นมาจากเดิมให้อยู่ในสัดส่วนปกติ เนื่องจากระดับราคาค่อนข้างน่าสนใจมากขึ้น อัตราการผิดนัดชำระหนี้ค่อนข้างต่ำ และอัตราของผลตอบแทนเริ่มมีความน่าสนใจมากขึ้น ซึ่งในพอร์ตของเรา อายุของตราสารหนี้อายุจะอยู่ที่ประมาณ 3 ปี นิด ๆ อาจจะไม่ได้สั้นมาก แต่อัตราผลตอบแทนที่เกิดขึ้นค่อนข้างที่จะสามารถชดเชยความผันผวนที่เกิดขึ้นในตอนนี้ได้ครับ
#ประเด็นที่2
#คุณเพชร : มองว่าการลงทุนหลังสงครามที่ทวีความรุนแรงลดลง จะเป็นยังไงบ้าง
#คุณอาร์ต : ทางผู้นำอเมริกาบอกว่าอย่าพึ่งเชื่อดีกว่าว่าความรุนเเรงลดลง เพราะสถานการณ์รัสเซียจะเป็นลักษณะ One Man Stage ขึ้นอยู่กับคน ๆ เดียว ดังนั้นการวางเเพลนต่าง ๆ ในแง่ของสินทรัพย์ จึงต้องวางแบบพร้อมรับ Worst Case เอาไว้ เพื่อปกป้องความมั่งคั่งของผู้ลงทุน แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องยืดหยุ่นมีความลื่นไหลตลอดเวลา ถ้าสถานการณ์กลับมาดีขึ้น เราจะได้ปรับพอร์ตขึ้นมาได้ทันท่วงที
ถ้ารัสเซียบุกหรือทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นและไม่สามารถหาข้อสรุปได้ อาจทำให้เศรษฐกิจโลกหดตัวได้เกือบ ๆ 2% ดังนั้นการเติบโตของเศรษฐกิจโลกอาจเติบโตได้เพียง 1.7-2% ก็เป็นไปได้ ในขณะเดียวกันอัตราเงินเฟ้อโดยเฉลี่ยของโลกอาจปรับตัวสูงขึ้นด้วย จากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น จึงเกิดในภาพของ Stagflation ที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
แต่จากข้อมูลในอดีตที่ผ่านมา ถ้าดูในภาวะเศรษฐกิจต่าง ๆ โดยเฉพาะในภาวะ Stagflation เมื่อ 50 ปีก่อน ทางหุ้นของสหรัฐ และทั่วโลกให้ผลตอบแทนที่ไม่ค่อยน่าสนใจหรือติดลบ ในขณะที่จะมีทองคำ และสินค้าโภคภัณฑ์ ที่ดีให้ผลตอบแทนที่ดีขึ้น ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้จากสงครามรัสเซีย-ยูเครน
#ประเด็นที่3
#คุณเพชร : มองว่าวิกฤตยุโรปจากสงครามครั้งนี้ เป็นโอกาสหรือนักลงทุนจะรับมืออย่างไรดี?
#คุณอาร์ต : ประเทศที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือเป็นยุโรป เนื่องจากยุโรปพึ่งพาก๊าซธรรมชาติจากรัสเซีย 40% และพึ่งพาน้ำมันถึง 25% ในขณะที่ฝั่งยูเครนเป็นผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์ทางเกษตรรายใหญ่ของโลก รวมถึงโลหะและทองแดง ดังนั้นในส่วนนี้จึงส่งผลกระทบต่อ Supply ของโลก ซึ่งยุโรปมีความสัมพันธ์อันใกล้ชิดกับรัสเซียค่อนข้างเยอะ ดังนั้นเงินเฟ้อของยุโรปจะขึ้นมากกว่าภูมิภาคอื่น อีกทั้งบทลงโทษของยุโรปต่อรัสเซีย ถือว่าเป็นการทำตัวเอง เพราะยุโรปมีการพึ่งพาทางการเงินกับรัสเซียค่อนข้างเยอะ รวมถึงพึ่งพาการนำเข้าส่งออกจากรัสเซียเป็นจำนวนมาก เช่น เยอรมัน ดังนั้นหุ้นของยุโรปจึงน่าสนใจลดลง และโอกาสที่หุ้นยุโรปจะติดลบก็ค่อนข้างสูง
และในส่วนของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังขยายตัวได้ดี แต่ยังไงอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ก็ขึ้นมาสูงเช่นกัน จากสถานการณ์สงคราม ยังไง Fed ก็ยังคงขึ้นอัตราดอกเบี้ยอยู่ดี ดังนั้น ถึงแม้ว่าหุ้นสหรัฐฯ น่าสนใจและดีกว่า แต่ยังไงก็ยังมีปัจจัยลบจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่ยังคงขึ้นต่อ ดังนั้นจึงยังไม่ได้ถึงขั้นเพิ่มสัดส่วนหุ้นอเมริกา
ในมุมมองของเราจะเน้นหุ้น Value และ Defensive ให้สอดคล้องกับการขึ้นอัตราดอกเบี้ย และภาวะสงคราม แต่มีการเอาหุ้น Growth เข้ามาบางช่วง
#คุณเพชร : ตอนนี้ Fed ปรับดอกเบี้ยขึ้นไปแล้ว 1 ครั้ง และกำลังจะปรับเพิ่มขึ้นอีกหลายครั้ง ไม่ทราบว่าตอนนี้ตลาดมีมุมมองอย่างไรบ้างครับ
#คุณกาน : เรื่องที่น่ากังวลตอนนี้คือการปรับอัตราดอกเบี้ยของ Fed ยังไม่สิ้นสุด เนื่องจากพึ่งมีการปรับครั้งแรกไปเมื่อช่วงกลางเดือนมีนาคมที่ผ่านมา จึงเลยชวนมาดูกันว่า ในอดีต 30 ปีที่ผ่านมาว่า การปรับตัวขึ้นแต่ละครั้งเป็นยังไง ซึ่งเรามีการปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นลงเป็นวัฏจักรต่อมาอย่างต่อเนื่อง โดยในอดีตก่อนที่ Fed จะปรับอัตราดอกเบี้ยในครั้งแรก ตลาดในช่วงแรกคือ เราจะได้รับผลตอบแทนที่ค่อนข้างลบอยู่เป็นปกติ แต่จากที่ผ่านมา 4-5 ครั้ง ถ้าเรายังถือ S&P 500 ถึง 1 ปี ก็ยังได้ผลตอบเเทนที่เป็นบวก 2-40%เลยทีเดียว ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องน่ากังวลว่าเราลงทุนในช่วงแรกตลาดจะปรับตัวลดลง แต่อัตราดอกเบี้ยจะเป็นตัวสะท้อนเศรษฐกิจที่ดีขึ้นในอนาคต ดังนั้นการปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นไม่ได้ส่งผลให้ตลาดปรับตัวลงในระยะยาว น่าจะลงทุนต่อไปได้ครับ
#ประเด็นที่4
#คุณเพชร : แล้วการลงทุนให้ “รอด” ท่ามกลางวิกฤติโลกแบบนี้ ควรทำอย่างไรดี
#คุณอาร์ต : ตอนนี้ Robowealth ร่วมมือกับ Schroders ซึ่งเป็นดีลที่พิเศษมาก ๆ เป็นพอร์ตการลงทุนที่สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อคนไทยโดยเฉพาะเลย อย่าง Schroders เอง เป็น บลจ.ชื่อดังระดับโลก ประวัติยาวนานกว่า 200 ปี มีผู้จัดการกองทุนตัวท็อป ๆ ที่ได้รับการยอมรับระดับโลกมาจัดพอร์ตให้ มีสินทรัพย์ภายใต้การจัดการ 8 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีการบริหารพอร์ตสำหรับผู้มีความมั่งคั่งสูง ซึ่งมีเงินลงทุนสูงถึง 1 แสนดอลลาร์สหรัฐ โดยที่ 81% ของพอร์ตที่เราบริหารเอาชนะ benchmark และ Peer Group ได้ ซึ่งพอร์ตที่ Schroders จัดให้ Robowealth และคนไทยนี้ เขาก็ใช้เทคนิคเหมือนกับบริหารพอร์ตเกือบ 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯของเขาเลย
#คุณเพชร : Key Success Factor ในการลงทุนพอร์ตนี้เป็นอย่างไรบ้างครับ
#คุณอาร์ต : กระบวนการคัดเลือกพอร์ตการลงทุนของเรา จะมีกลุ่มคอยประเมินอัตราผลตอบแทนของสินทรัพย์ทั่วโลก มีการใช้มุมมองในระดับมหภาคและมีมุมมองในภาพรวมเศรษฐกิจในแต่ละเดือนว่ามีมุมมองแบบไหน แต่ละสินทรัพย์น่าสนใจอย่างไร ซึ่งในขั้นตอนต่อมา จะนำสินทรัพย์ที่น่าสนใจเหล่านี้มาดูว่าจะจัดพอร์ตอย่างไร เทรนด์ไหนน่าสนใจ จะลงทุนอย่างไรในระยะสั้นหรือระยะยาว
ขั้นตอนสุดท้าย เอาข้อมูลจากนักวิเคราะห์ต่าง ๆ ว่าจัดพอร์ตแบบไหนดีที่สุด ซึ่งเป็นตัวช่วยวิเคราะห์ เช่นระยะสั้นจะต้องจัดสรรอย่างไร บริหารความเสี่ยงอย่างไร เพราะการลงทุนต้องมีการบริหารความเสี่ยงตามเกณฑ์ที่ตั้งเอาไว้ มาช่วยเป็นกระบวนการในการจัดพอร์ต
การคัดเลือกกอง นอกจากจะมีการใช้ข้อมูลเชิงปริมาณแล้ว ยังมีการเอาข้อมูลเชิงคุณภาพมาเข้าช่วยด้วย เช่น เรื่องของผู้จัดการกองทุน มีการบริหารกองทุนเป็นอย่างไรบ้าง มีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ มีการดูเรื่องของธีมสินทรัพย์ลงทุนต่าง ๆ เพื่อช่วยดูว่ากองมีความเหมาะสมกับพอร์ตของเรามากที่สุด
#ประเด็นที่5
#คุณเพชร : พอร์ตนี้สัดส่วนในการลงทุนเป็นอย่างไรบ้างครับ
#คุณอาร์ต : ในพอร์ตนี้ ค่อนข้างมีการกระจายการลงทุนไปยังหลากหลายสินทรัพย์ เป็นตัวช่วยในการกระจายความเสี่ยงให้แก่พอร์ตของเราได้ครับ ซึ่งสัดส่วนในพอร์ตปัจจุบันจะเป็น หุ้น 50% ตราสารหนี้ 35% สินทรัพย์ทางเลือก 5% เงินสด 10%
โดยหุ้น 50% แบ่งออกเป็นหุ้นทั่วโลกกลุ่มเติบโต หุ้นทั่วโลกกลุ่มคุณค่า หุ้นกลุ่ม Thematic หุ้นเอเชีย หุ้นจ่ายปันผลสูงทั่วโลก และอสังหาริมทรัพย์ทั่วโลก
ส่วนตราสารหนี้ 35% แบ่งออกเป็นตราสารหนี้ตลาดเกิดใหม่ ตราสารหนี้ที่มีเครดิต และตราสารหนี้ที่มีความยืดหยุ่นของอายุ
ส่วนสินทรัพย์ทางเลือก 5% อยู่ในส่วนของสินค้าโภคภัณฑ์
#ประเด็นที่6 พอร์ต Schroders ต้องลงทุนอย่างไร มีข้อดีอย่างไร
#คุณกาน : ข้อดีของพอร์ตมีการแบ่งสัดส่วนการลงทุนระหว่างกลุ่ม Growth และ Income เพื่อที่จะไม่พลาดโอกาสในการลงทุนในทุกช่วงเวลา อีกการเลือกกองทุน จะเป็นแบบ Unbiased ถ้ากองของ บลจ.อื่นเหมาะกับพอร์ตหรือสามารถสสร้างผลตอบแทนได้มากกว่าก็จะเอามาใช้ ก็สามารถเข้ามาอยู่ในพอร์ตได้ตลอดเวลา รวมถึงมีการรีวิพอร์ตในทุก ๆ เดือน ถ้าเห็นว่าการปรับพอร์ตในช่วงไหนจำเป็นจะต้องทำ ก็สามารถทำได้อย่างทันทีเลยเช่นกันครับ
ถือเป็นดีลที่น่าสนใจมาก ๆ ของคนไทย เพราะแต่ก่อนอยากจะลงทุนแบบนี้ ต้องมี 4-5 ล้านขึ้นไป แล้วขั้นตอนมากมาย แต่ตอนนี้คือง่ายมากๆ เพราะผ่านแอป odini ได้เลย เริ่มต้นเพียง 500,000 บาทเท่านั้น โดยไม่คิดค่าบริการเพิ่มเติมครับ
หากสนใจสามารถโหลดได้ที่ App Store และ Google Play ได้เลยครับ
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Link odiniapp.co/AOoac01-l0504
#odini
#Robowealth
#Schroders