Property Fund, REIT และ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน คืออะไร?

Property Fund, REIT และ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน คืออะไร?

ในบทความนี้ odini เราจะพูดถึงกองทุน 3 ประเภทที่นักลงทุนสาย Income ต้องรู้จัก

 

  • กองทุน Property Fund
  • กอง REIT
  • กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน

 

มาเริ่มกันเลย

┏━━━━━━━━━━━━━┓

🔊DCA ผ่าน odini ได้แล้ววันนี้ ลองเลย 

┗━━━━━━━━━━━━━┛

 

Property Fund กับ REIT คืออะไร ต่างกันอย่างไร? 

 

ถ้าให้พูดแบบรวม ๆ ทั้งสองกองทุนมีจุดประสงค์หลักคือการลงทุนใน “อสังหาริมทรัพย์” เหมือนกัน ทำให้เราเรียกกองทุนสองรูปแบบนี้รวม ๆ ไปเลยว่า กองทุนอสังหาฯ

 

แต่ทว่า ในรายละเอียดยังมีความแตกต่างอยู่ ซึ่งหลัก ๆ จะเป็นรูปแบบของการจดทะเบียน ที่พอรูปแบบการจดทะเบียนไม่เหมือนกัน ทำให้รายละเอียดปลีกย่อยต่างกันไปด้วยนั่นเอง โดยที่

 

ลักษณะของกองทุนอสังหาริมทรัพย์

 

  • เป็นนิติบุคคล
  • มีโครงสร้างเป็นกองทุนรวม บริหารงานโดย บลจ. เท่านั้น
  • กู้เงินได้ไม่เกิน 10% ของสินทรัพย์รวม
  • ด้วยความที่เป็นกองทุนรวม ทำให้ไม่มีการประชุมผู้ถือหน่วย
  • บุคคลธรรมดาที่ลงทุน ต้องเสียภาษีปันผล หัก ณ ที่จ่าย 10% นิติบุคคลไม่เสียภาษี
  • ปัจจุบันไม่มีกองทุนอสังหาริมทรัพย์ออกใหม่แล้ว เนื่องจาก ก.ล.ต กำหนดให้จดทะเบียนแบบ REIT แทน ตั้งแต่ปี 2013

 

ลักษณะของ REIT

 

  • เป็นกองทุนอสังหาฯ แต่การถือกรรมสิทธิ์แบบกองสินทรัพย์ 
  • มีคนคอยบริหารสินทรัพย์ให้เราเรียกว่า ทรัสตี ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็น บลจ. ก็ได้
  • ก่อหนี้ได้สูงสุดถึง 35% แต่ถ้าเป็น Investment grade ก่อหนี้ได้สูงถึง 60%
  • ต้องมีการประชุมผู้ถือหน่วยทุกปี
  • ผู้ถือหน่วยทุกประเภทต้องเสียภาษีเงินปันผล
  • ปัจจุบันกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์จะจัดตั้งในรูปแบบนี้แทน

 

กองทุนอสังหาริมทรัพย์ ลงทุนในอะไรบ้าง

 

ลงทุนใน สินทรัพย์ ที่

 

  • เคลื่อนที่ไม่ได้
  • สร้างรายได้อย่างสม่ำเสมอ
  • ไม่ทำผิดกฎหมาย

 

แต่ถ้านึกภาพไม่ออก นี่คือตัวอย่างของสินทรัพย์ที่ กองทุน เข้าไปลงทุน

 

  • โรงแรม
  • ศูนย์ประชุม ศูนย์จัดงานนิทรรศการ
  • อาคารสำนักงาน
  • ศูนย์การค้า
  • Data Center
  • คลังสินค้า

 

ตัวอย่าง Property Fund

  • LPF : ลงทุนในศูนย์การค้า เทสโก้ โลตัส จำนวน 22 แห่ง
  • LHPF  : ลงทุนใน เซนเตอร์พอยน์ สุขุมวิท – ทองหล่อ เซนเตอร์พอยน์ เรซิเดนซ์ พร้อมพงษ์ และ แอล แอนด์ เอช วิลลา สาธร  

 

ตัวอย่างกอง REIT

  • CPNREIT :  ลงทุนในโครงการเซ็นทรัล พระราม 2 โครงการเซ็นทรัล พระราม 3 โครงการเซ็นทรัล ปิ่นเกล้าและอาคารสำนักงานปิ่นเกล้า ทาวเวอร์เอ และบี โครงการเซ็นทรัล เชียงใหม่ แอร์พอร์ต โครงการเซ็นทรัล พัทยา และโรงแรมฮิลตัน พัทยา โครงการอาคารสำนักงานเดอะไนน์ ทาวเวอร์ส โครงการอาคารสำนักงานยูนิลีเวอร์ เฮ้าส์ โครงการเซ็นทรัล มารีนา และโครงการเซ็นทรัล ลำปาง
  • BHIRAT : ลงทุนในสิทธิการเช่าอาคารสำนักงานภิรัชทาวเวอร์ แอท เอ็มควอเทียร์ และ สิทธิการเช่าอาคารสำนักงานภิรัชทาวเวอร์ แอท ไบเทค

 

กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Fund) คืออะไร?

 

ถ้าให้สรุปง่าย ๆ กองทุนรวมประเภทนี้คือการรวมเงินจากนักลงทุน เพื่อนำเงินไปลงทุนในกิจการโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นประโยชน์ ช่วยพัฒนาให้ประเทศก้าวหน้ายิ่งขึ้น

 

ตัวอย่างเช่น

  • ทางด่วน
  • เสาสัญญาณอินเตอร์เน็ต
  • รถไฟฟ้า BTS

 

โดยวิธีการเข้าลงทุนจะทำได้ทั้งหมด 3 แบบคือ

 

  • ลงทุนโดยตรงผ่านการถือครองกรรมสิทธิ์ เหมาะกับทรัพย์สินที่สามารถโอนความเป็นเจ้าของได้ เช่น ทรัพย์สินของภาคเอกชน
  • ลงทุนในสัญญาแบ่งรายได้ สิทธิการเช่า โดยรูปแบบนี้เหมาะกับทรัพย์สินที่ของรัฐ ที่ไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์หรือสัมปทานได้
  • ลงทุนในหุ้นของบริษัทที่ประกอบกิจการโครงสร้างพื้นฐาน

 

โดย 11 ประเภทกิจการที่นับเป็นสินทรัพย์ที่กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานลงทุนได้นั้นได้แก่

 

  1. ระบบขนส่งทางรางหรือทางท่อ
  2. ไฟฟ้า
  3. ประปา
  4. ถนน ทางพิเศษ หรือทางสัมปทาน
  5. ท่าอากาศยาน หรือ สนามบิน
  6. ท่าเรือน้ำลึก
  7. โทรคมนาคมหรือโครงสร้างด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  8. พลังงานทางเลือก
  9. ระบบบริหารจัดการน้ำหรือการชลประทาน
  10. ระบบป้องกันภัยธรรมชาติซึ่งรวมถึงระบบเตือนภัยและระบบจัดการเพื่อลดความรุนแรงของภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นด้วย
  11. ระบบจัดการของเสีย

 

ตัวอย่างกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน

  • BTSGIF : กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานที่ลงทุนในรถไฟฟ้าขนส่งมวลชล BTS
  • DIF : กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานที่ลงทุนในระบบโทรคมนาคม ดิจิทัล
  • TFFIF : กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานที่ลงทุนในทางพิเศษ ฉลองรัช (รามอินทรา-อาจณรงค์) และ บูรพาวิถี (บางนา-ชลบุรี)

 

Freehold และ Leasehold คืออะไร?

 

ถ้าจะลงทุนกองทุนเหล่านี้ Freehold และ Leasehold เป็นคำที่ต้องรู้เลย โดยที่

 

Freehold 

 

เป็นการขายสินทรัพย์ให้หน่วยลงทุนแบบขายขาด แปลว่าผู้ถือหน่วยลงทุนจะกลายเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์นั้นทันที

 

โดยจุดเด่นคือ ถ้าหากสินทรัพย์ปรับตัวสูงขึ้นเมื่อตอนทำการขายออกไป ก็จะได้รับกำไรจาก Capital Gain อีกด้วย

 

Leasehold

 

กองทุนได้สิทธิลงทุนในฐานะผู้เช่าเท่านั้น โดยสัญญาเช่าจะถูกกำหนดช่วงเวลาหนึ่ง ๆ เช่น 20 ปี

 

แน่นอนว่าเมื่อหมดสัญญามูลค่าของสินทรัพย์จะกลายเป็น 0 ทันที 

 

และนี่คือสาเหตุว่าทำไมกองทุนแบบ Leasehold NAV มีแต่ลดลง

 

แต่ไม่ต้องตกใจครับ เพราะจะมีการคืนเงินต้น รวมถึงดอกผลจากการลงทุน กลับมาให้ผู้ลงทุนระหว่างทางด้วย

 

ทีนี้การจ่ายผลตอบแทนจะมีสองแบบได้แก่

  • การคืนเงินต้น แบบนี้ไม่เสียภาษี 
  • เงินปันผล ซึ่งหักภาษี ณ ที่จ่าย 10%

 

สินทรัพย์ประเภทนี้เหมาะลงทุนตอนไหน

 

ด้วยสินทรัพย์ประเภทนี้จะมีจุดเด่นอยู่ที่ การจ่ายกระแสเงินสด ทำให้สินทรัพย์ประเภทนี้เหมาะลงทุนในช่วงที่ดอกเบี้ยต่ำ ๆ ทั้งนี้สินทรัพย์แต่ละประเภทยังมีความน่าลงทุนแตกต่างกันในแต่ละช่วงของเศรษฐกิจ เศรษฐกิจไม่ดี การลงทุนใน ไฟฟ้า ประปา จะดี แต่ถ้าเศรษฐกิจดี นักท่องเที่ยวคับคั่ง การลงทุนใน สนามบิน โรงแรม จะดี 

 

┏━━━━━━━━━━━━━┓

การลงทุนดูเป็นเรื่องยากและวุ่นวาย? ทำให้เป็นเรื่องง่ายได้ด้วย odini General ที่ช่วยให้เข้าถึงการลงทุนแสนง่ายได้ด้วยระบบอัตโนมัติ ผ่าน Robo-advisor ซึ่งเป็น AI ควบคู่ไปกับทีมงานผู้เชี่ยวชาญ เลือกได้หลากหลายระดับผลตอบแทนที่ต้องการ เริ่มต้นเพียงแค่ 1,000 บาทเท่านั้น ผ่านแอปพลิเคชัน odini odiniapp.co/3NZCMWQ เริ่มออมวันนี้ดีที่สุดนะครับ 

┗━━━━━━━━━━━━━┛

 

#odini

#แอปลงทุนกองทุนรวมอัตโนมัติ

#ลงทุนง่ายได้ทุกคน

 

*ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต

**การลงทุนมีความเสี่ยงผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน

No Comments

Sorry, the comment form is closed at this time.