ตั้งเป้าปีใหม่ สร้างวินัยทางการเงิน

ตั้งเป้าปีใหม่ สร้างวินัยทางการเงิน

สวัสดีปีใหม่ครับเพื่อนๆ ชาวโอดีเนียน ขอต้อนรับเข้าสู่ปี 2022 อย่างเป็นทางการครับ
.
เริ่มปีแบบนี้ เรามาลองตั้งเป้าสู่อะไรใหม่ๆ กันดีกว่า งั้นมาเริ่มที่เรื่องเงินกันก่อนเลย มีอะไรที่เราสามารถตั้งเป้าเพื่อให้มีวินัยทางการเงินที่ดีต้อนรับปี 2022 ได้บ้าง ไปดูกัน
.
.
1. ใช้ให้น้อยกว่าที่หาได้
.
แน่นอนว่าเราควรใช้ให้น้อยกว่าที่หาได้ จะได้มีเงินเหลือไปทำอย่างอื่น รวมไปถึงเราควรใช้เงินที่เรามีก่อนที่จะใช้บัตรเครดิตหรือเงินในอนาคต
.
ข้อนี้ Simple มากและเป็นจุดเริ่มต้นสู่ความมั่งคั่งทางการเงินที่สำคัญสุด
.
.
2. เก็บก่อนใช้
.
เพื่อนๆ หลายคนยังเข้าใจว่า เมื่อเราได้เงินมา เอาไปหักค่าใช้จ่าย เสร็จแล้วเหลือเท่าไหร่ ก็ค่อยเอาไปออมแบบหมูออมสินที่เราเคยทำตอนสมัยเด็กๆ
.
ถ้าให้ดูง่ายๆ เป็นสมการเงินออมก็คือ
รายได้ – ค่าใช้จ่าย = เงินออม
.
วิธีแบบหมูออมสินก็เป็นวิธีที่ดีเลย แต่เชื่อเถอะว่าสุดท้ายแล้วไม่เหลือให้เราออมหรอกครับ TT เพราะค่าใช้จ่ายมันจะมาเรื่อยๆ รู้ตัวอีกที หมด อดออมไปอีกกกกก แล้วจะทำยังไงดีล่ะ
.
odini มีเทคนิคที่ช่วยให้ออมเงินได้ นั่นก็คือ เมื่อได้รายได้มาปุ๊บ ควรหักเป็นเงินออมก่อนเลย เหลือเท่าไหร่ค่อยเอาไปใช้จ่าย
.
หรือถ้าเขียนเป็นสมการเงินออมก็คือ
รายได้ – เงินออม = เงินที่นำไปใช้จ่ายได้
.
วิธีนี้จะทำให้เรามีเงินเก็บอัตโนมัติและเราก็จะคุมค่าใช้จ่ายได้ด้วยครับ ^^
.
.
3. เก็บเงินอย่างน้อย 10% ของรายได้
.
เพื่อนๆ ชาวโอดีเนียนรู้กันอยู่แล้วว่า เก็บเงินอ่ะดีแน่ๆ แต่ควรเก็บเท่าไหร่ดีล่ะ ถึงจะโอเค
.
สำหรับผู้เริ่มต้น แนะนำให้เริ่มที่ 10% ครับ
.
ทำไมต้อง 10% เก็บแบบนี้เมื่อไหร่จะรวย เก็บเยอะๆ ไปเลยไม่ดีกว่าเหรอ แล้วถ้าใช้ไม่พอค่อยเอาออกมาใช้
.
ตัวเลขเงินเก็บ 10% เป็นตัวเลขที่เหมาะสำหรับคนที่พึ่งเดบิ้วท์เข้าวงการเก็บเงิน เพราะ 10% เป็นจำนวนเงินที่เมื่อหักออกไปแล้ว จะไม่กระเทือนต่อการใช้ชีวิตประจำวันของเรามาก เราอาจจะใช้ชีวิตได้คล้ายๆ เดิมเลย และเงินจำนวนนี้ก็จะถูกสะสมไปเรื่อยๆ รู้ตัวอีกทีก็ได้ก้อนใหญ่ และเมื่อเราเก็บจนเป็นนิสัยแล้วก็ค่อยเพิ่มเป็น 15% , 20% หรือเท่าไหร่ก็ไแล้วแต่ที่เราสะดวกได้เลย
.
.
4. เก็บเงินสำรองเผื่อฉุกเฉิน
.
ก้อนนี้ควรมีไว้เผื่อเหตุการณ์ฉุกเฉินที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ที่เขาชอบยกตัวอย่างกันว่า เผื่อตกงานขึ้นมากระทันหัน เราจะได้สามารถมีชีวิตอยู่ได้ต่ออีกสักระยะจนกว่าจะกลับมาตั้งตัวใหม่ได้
.
วิธีคำนวณเงินสำรองคือ ให้เราเอาค่าใช้จ่ายที่เราต้องจ่ายทุกเดือน เช่น ทั้งเดือนใช้เงินอยู่ 20,000 บาท
.
ถ้าอยากมีเงินสำรองไว้ 3 เดือนก็ต้องมี 60,000 บาท
ถ้าอยากสบายใจเพิ่มขึ้นมาหน่อย สำรองไว้ 6 เดือน ก็ 120,000 บาท
ถ้าใครเอามั่นใจชัวร์ๆ ก็ 1 ปีไปเลย ก็จะอยู่ที่ 240,000 บาท
.
แต่ทางเราเริ่มที่ 3 เดือนกันก่อน แล้วค่อยๆ ปรับเพิ่มได้
.
.
5. ลงทุน
.
มาถึงข้อนี้ หลายคนอาจสงสัยว่า แค่เก็บเงินไม่พอเหรอ ทำไมต้องลงทุนด้วย
ก็ขอตอบตรงนี้ว่า “ไม่พอ” อย่างแน่นอนครับ
.
ด้วยสิ่งที่เรียกว่า “เงินเฟ้อ” ที่ทำให้ข้าวของทุกอย่างแพงขึ้น ในขณะที่เงินที่เราเก็บมูลค่าไม่เพิ่มตามเลยเราเลยต้องหาวิธีทำให้เงินของเรานั้นชนะเงินเฟ้อ
.
ซึ่งวิธีนั้นก็คือ “การลงทุน”
.
แล้วเราจะลงทุนที่ไหนอะไรดีล่ะ ลงทุนในไหนอะไร ต้องศึกษาเพิ่มอีกไหม ทำยังไงดี
.
ไม่ต้องห่วงเลย เพราะปัญหาทั้งหมดนี้แก้ได้ง่ายดายด้วยคำว่า odini #แอปลงทุนกองทุนรวมอัตโนมัติ ที่เน้นความง่ายและสะดวกเป็นหลัก
.
odini app มี Robo-advisor อันแสนชาญฉลาดที่ทำงานร่วมกับทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุน ที่ไม่เพียงแค่เลือกกองทุน ซื้อ-ขาย แต่ยังติดตามผลงานกองทุน ติดตามตลาดและปรับพอร์ตให้เข้ากับสภาวะตลาด ให้คุณไม่พลาดในทุกช่วงเวลาไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหน หรือ ทำอะไร
.
ที่สำคัญ เริ่มต้นเพียง 1,000 บาทเท่านั้น ก็เป็นนักลงทุนได้แล้ว
.
ลองดาวน์โหลด odini app ได้ที่ https://link.odiniapp.com/AOoac01-a0105
หรือดูรายละเอียดเพิ่มเติมก่อนได้เลยที่ https://link.odiniapp.com/AOoac01-w0105
.
#odini #ลงทุนง่าย #ได้ทุกคน
No Comments

Sorry, the comment form is closed at this time.