ถือหุ้นกู้ EA อยู่ใช่ไหม? อย่าเพิ่งตกใจ ให้ 3 กลไกของกองทุนช่วยคุณ

ถือหุ้นกู้ EA อยู่ใช่ไหม? อย่าเพิ่งตกใจ ให้ 3 กลไกของกองทุนช่วยคุณ

จากกรณีที่บริษัท Energy Absolute หรือ EA ที่ กลต. กล่าวโทษกรณีการทุจริตและอาจส่งผลถึงความสามารถในการชำระหนี้ ไปจนถึงความเชื่อมั่นของตลาดตราสารหนี้ไทย ซึ่งผู้ถือกองทุนที่มีหุ้นกู้ EA อาจรู้สึกกังวลใจ แต่อย่าเพิ่งตกใจ เพราะกลไก

  • Set Aside / Side Pocket
  • Redemption Gate

ถูกนำมาใช้เพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ของนักลงทุน มาเรียนรู้กันว่ากลไกเหล่านี้คืออะไรและทำงานอย่างไร

 

1.กลไก Set Aside หรือ Side Pocket คืออะไร?

กลไก Set Aside คือ การคัดแยกคำนวณทรัพย์สินที่มีปัญหาหรือมีสภาพคล่องต่ำออกจากกองทุน หรือเป็นการกันเงินบางส่วนเพื่อรองรับความไม่แน่นอน

เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ (NAV) ของกองทุน และผู้ลงทุนกองทุนวันถัดไป

โดยเมื่อถึงเวลาที่ทรัพย์สินดังกล่าวมีทางออกและแปรเปลี่ยนเป็นเงินมา ก็จะมีการนำมาแจกจ่ายคืนแก่เจ้าหนี้หรือผู้ลงทุนคนเก่า 

พูดภาษาบ้าน ๆ คือเก็บส่วนที่ดีไว้ แล้วมาดูส่วนที่ร้ายว่าพอจะหาทางคืนให้กับผู้ถือหน่วยคนเก่าได้หรือไม่

ยกตัวอย่าง Set Aside จากเหตุการณ์จริง

สมมติเราถือกองทุนตราสารหนี้อยู่ 100 บาท แล้วกองทุนถือหุ้นกู้ EA อยู่ 5 บาท เมื่อทำการ Set Aside แล้ว กองทุนจะมีมูลค่าเหลืออยู่ 95 บาท ดังนั้นจะขาดทุนอยู่ 5% ซึ่งจะขาดทุนน้อยลงหลังจากนี้ถ้าได้เงินต้น ไปจนถึงได้ผลตอบแทนคืน ทั้งนี้นักลงทุนใหม่จะไม่ได้รับผลกระทบนี้เลย

นอกจากการ Set Aside แล้ว อีกหนึ่งกลไกที่ทาง บลจ. ใช้ในการปกป้องนักลงทุน ก็คือ กลไก Redemption Gate

 

2.กลไก Redemption Gate คืออะไร?

จะเกิดอะไรขึ้นถ้าทุกคนแห่ถอนเงินจากกองทุนรวมตราสารหนี้พร้อม ๆ กัน?

แน่นอนว่าการ Panic Sell จะส่งผลให้เกิดแรงขายมหาศาล

ส่งผลต่อราคาตราสารตัวอื่นที่ไม่ได้เกี่ยวข้อง

และจะส่งผลให้ราคากองทุนปรับตัวลงอีกจากการต้องเร่งขายตาม

ทำให้ทางกองทุนรวมได้มีการจัดตั้งกลไก Redemption Gate ขึ้นเพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าว

แล้ว Redemption Gate มันคืออะไร? จริง ๆ แล้วมันคือการตั้งเพดานการขายสินทรัพย์สูงสุดที่นักลงทุนสามารถถอนออกจากกองทุนในช่วงเวลาที่มีการร้องขอการไถ่ถอนมากเกินไป

ซึ่งการกำหนดเพดานนี้จะเป็นการปกป้องนักลงทุนจากความเสี่ยงที่กองทุนจะต้องขายทรัพย์สินในราคาที่ต่ำกว่าความเป็นจริงนั่นเอง

 

ยกตัวอย่าง Redemption Gate จากเหตุการณ์จริง

สมมติว่ากองทุนตราสารหนี้มีทรัพย์สินสุทธิอยู่ 1 ล้านบาท แต่มีการกำหนดเพดานให้ขายได้แค่ 10% ต่อวันแปลว่ากองทุนอนุญาตให้ขายได้แค่ 1 แสนบาทเท่านั้น

หากมีคนขายมากกว่านี้ก็ใช้วิธีแบ่งสัดส่วนการได้เงินคืนกัน

สมมติรวมของนักลงทุนคนอื่นที่ต้องการขายได้ 5 แสนบาท

ก็จะคิดเป็น 100,000/500,000=20% ที่เอาไปแบ่งกันได้ก่อน

กลับมาตัวอย่างเดิม 

เราถือตราสารหนี้อยู่ 100 บาทแล้วสั่งขาย เราก็จะได้คืนแค่ 20 บาท วันทำการถัด ๆ ไปมาดูกันใหม่ไปเรื่อย ๆ 

 

แต่ ถ้ากลไกทั้งสองข้างต้น นำมาใช้ร่วมกันก็แล้ว ก็ยังไม่สามารถหยุดยั้งการไถ่ถอนเงินออกจากกองทุนได้ 

ผลก็คือต้องดำเนินการปิดกองทุน

 

3.การปิดกองทุน: เลวร้ายไหม?

ไม่ได้เลวร้าย การปิดกองทุนเป็นทางออกถัดไปเมื่อกลไก Set Aside และ Redemption Gate ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ การปิดกองทุนหมายถึงการเลิกกิจการและจำหน่ายทรัพย์สินทั้งหมดของกองทุนเพื่อชำระหนี้และคืนเงินให้กับนักลงทุน การปิดกองทุนมีข้อดีที่ไม่ต้องเร่งขายเมื่อไม่ได้ราคา โดยเฉพาะกับตัวที่ไม่มีปัญหา

 

ผลดีของกลไกต่าง ๆ

  1. ลดความเสี่ยง: ป้องกันการขายทรัพย์สินในราคาต่ำเกินไป
  2. คุ้มครองนักลงทุน: รักษาผลประโยชน์ของนักลงทุนทั้งเก่าและใหม่
  3. รักษาเสถียรภาพของกองทุน: ช่วยให้กองทุนยังคงดำเนินงานได้ในสถานการณ์ที่ยากลำบากที่อาจส่งผลต่อเรื่องสภาพคล่อง
  4. สร้างความเชื่อมั่นต่อตลาด: สร้างความมั่นใจให้นักลงทุนว่าเหตุการณ์จะไม่ลุกลาม

ผลกระทบ

ทั้ง 3 กลไกข้างต้น อาจทำให้การถอนเงินออกจากกองทุนเป็นไปได้ยากขึ้นและต้องใช้เวลากว่าจะได้เงินคืนทั้งหมด 

สรุปแล้วสบายใจได้ไหม?

พอสบายใจได้! การใช้กลไกข้างต้นทั้งหมด ช่วยให้กองทุนสามารถจัดการกับสถานการณ์ที่ไม่ปกติได้ จึงสบายใจได้ในระดับหนึ่ง แต่อีกด้านหนึ่งยังคงต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดว่าส่วนที่มีปัญหาซึ่งในกรณีนี้คือ EA จะได้เงินคืน “เท่าไร” และ “เมื่อไร” 

อย่างไรแล้วก็ไม่ต้องเป็นห่วง เพราะ FinVest อยู่ดูแลคุณ เรื่องลงทุนเสมอ กดติดตามเราไว้เลย

 

รวมกองทุนที่ใช้ กลไก Set Aside, Redemption Gate และ ปิดกองทุน กรณี EA

Set Aside

 

Set Aside, Redemption Gate และ เลิกกองทุน

    • กองทุนรวมของ บลจ. แอทเซท พลัส 

 

 

*ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต

**การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน

No Comments

Sorry, the comment form is closed at this time.