8 หุ้นดังฟื้นฟูกิจการ จัดอันดับตามหนี้สินรวม
1.THAI บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
- ยื่นฟื้นฟูปี 2563
- หนี้สินรวม 245,000 ล้านบาท
โดยปี 2563 บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เตรียมตัวยื่นฟื้นฟูกิจการมูลค่าสูงถึง 245,000 ล้านบาท
เนื่องจากบริษัทประสบกับภาวะขาดทุนมาเป็นระยะเวลานาน โดยเฉพาะช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้สายการบินต้องหยุดให้บริการ จึงทำให้บริษัทขาดสภาพคล่องทางการเงิน และมีภาระหนี้สินที่สูงที่สุดในรอบประวัติศาสตร์
2.TPIPL บริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน)
*ปัจจุบันสามารถฟื้นฟูกิจการได้แล้ว
- ยื่นฟื้นฟูปี 2543
- หนี้สินรวม 140,000 ล้านบาท
เนื่องจากวิกฤติต้มยำกุ้งปี 2540 การบริหารค่าใช้จ่ายและการลงทุนเกินตัวของบริษัทนั้น ก่อให้เกิดหนี้ NPL
3.BTS บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)
*ปัจจุบันสามารถฟื้นฟูกิจการได้แล้ว
- ยื่นฟื้นฟูปี 2540
- หนี้สินรวม 59,834 ล้านบาท
จากวิกฤตต้มยำกุ้ง ส่งผลให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เช่น โครงการธนาซิตี้ บ้านจัดสรรพร้อมสนามกอล์ฟ ย่านบางนา และอีกหลายโครงการที่บริษัทหวังเป็นตัวทำรายได้หลักในการทำโครงการรถไฟฟ้ากลับขาดทุน จนเกิดหนี้ NPL
4.SSI บริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน)
- ยื่นฟื้นฟูปี 2558
- หนี้สินรวม 23,900 ล้านบาท
เนื่องจากอังกฤษประกาศตัวเป็นผู้นำในเรื่องลดโลกร้อน ทำให้โรงไฟฟ้าถ่านหินในอังกฤษปิดเกือบหมด รวมถึงโรงงาน SSI สาขาสหราชอาณาจักรด้วย และมาตรการทางการค้าสหรัฐฯ-จีน ทำให้การส่งออกถ่านหินลดลง
5.EARTH บริษัท เอ็นเนอร์ยี่ เอิร์ธ จำกัด (มหาชน)
- ยื่นฟื้นฟูปี 2560
- หนี้สินรวม 26,000 ล้านบาท
การล่มสลายของบริษัทเกิดจากการทุจริตภายใน ทั้งเรื่องการสร้างหนี้เทียมจำนวน 26,000 ล้านบาท และเผยแพร่ข้อมูลอันเป็นเท็จของผู้บริหาร
6.PACE บริษัท เพซ ดีเวลลอปเมนท์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
- ยื่นฟื้นฟูปี 2563
- หนี้สินรวม 20,098 ล้านบาท
เนื่องจากบริษัทประสบผลขาดทุนตั้งแต่ปี 2561 ต่อเนื่องจนถึงปี 2563 ทำให้ธนาคารไทยพาณิชย์ประกาศให้หนี้ PACE เป็น NPL
7.ITD บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)
*ปัจจุบันสามารถฟื้นฟูกิจการได้แล้ว
- ยื่นฟื้นฟูปี 2545
- หนี้สินรวม 18,828 ล้านบาท
วิกฤตต้มยำกุ้งและการตัดงบการลงทุนของภาครัฐปี 2540 กระเทือนต่อธุรกิจรับเหมาก่อสร้างโดยตรง ทำให้สภาพคล่องทางการเงินของบริษัทอยู่ในระดับต่ำ
8.ROBINS บริษัท โรบินสัน จำกัด (มหาชน)
*ปัจจุบันสามารถฟื้นฟูกิจการได้แล้ว
- ยื่นฟื้นฟูปี 2543
- หนี้สินรวม 14,808 ล้านบาท
ปี 2540-2541 บริษัทได้รับผลกระทบจากวิกฤตต้มยำกุ้ง ในวันที่ 2 ก.ค. 2540 ค่าเงินบาทลอยตัวและประกาศหยุดพักชำระหนี้สินทางการเงิน
หากดูจากวิกฤตครั้งใหญ่ในรอบ 20 ปีที่ผ่านมาตั้งแต่วิกฤตต้มยำกุ้งจนถึง ปัจจุบัน ก็คงไม่พ้นการแพร่ระบาดโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจภาคบริการทั่วโลก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการบิน ทำให้การบินไทยต้องยื่นฟื้นฟูกิจการในปี 2563 เป็นมูลค่าหนี้สินรวม 245,000 ล้านบาท สูงที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย ประเด็นนี้จึงได้รับการจับตามองอนาคตของธุรกิจสายการบินไทยว่าจะดำเนินมาตรการอย่างไรให้สามารถรอดพ้นวิกฤตการล้มละลายนี้ไปได้
ทำอย่างไรให้การบินไทยได้หายใจต่อ? การบินไทยจะต้องได้รับการพักชำระหนี้ในทันที เพื่อโอกาสในการฟื้นฟูกิจการ ให้สามารถชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ในอนาคตได้ ซึ่งการช่วยต่อลมหายใจนี้ ไม่ใช่เพียงแค่หนุนการบินไทยเท่านั้น แต่ยังช่วยฟื้นฟูภาคธุรกิจและระบบเศรษฐกิจไม่ให้ดิ่งลงไปมากกว่าเดิม
การบินไทยเข้าฟื้นฟูกิจการทำไม?
- เพื่อรักษากิจการให้ดำเนินการได้ตามปกติอย่างต่อเนื่อง ลดความเสี่ยงต่อการถูกเลิกกิจการ และการถูกฟ้องล้มละลาย ซึ่งจะช่วยรักษาการจ้างงานและห่วงโซ่อุปทานต่าง ๆ ไว้ได้
- เพื่อให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้มากกว่าการล้มละลาย
- เพื่อเปิดโอกาสให้ธุรกิจสามารถปรับโครงสร้างองค์กร กระบวนการทำงาน และแผนการดำเนินธุรกิจต่อไปได้
เริ่มต้นลงทุนกับ odini ลงทุนง่าย ได้ทุกคน โหลดแอปเลย https://odini.onelink.me/ymkV/e632ce31
เพื่อนๆ คนไหนที่ต้องการเริ่มต้นลงทุนสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Line: @odiniapp
Cr. ThaiPublica, BBC, The Bangkok Insight