ใครถือ LTF ถ้าไม่สับเปลี่ยนเข้า Thai ESGX = ไม่ได้ลดหย่อนภาษี โดย odini

ใครถือ LTF ถ้าไม่สับเปลี่ยนเข้า Thai ESGX = ไม่ได้ลดหย่อนภาษี โดย odini

กองทุน LTF กองแรกจัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2004

 

ปี 2019 คือปีสุดท้ายที่มีการขาย LTF

 

แน่นอน มีนักลงทุนบางส่วนที่ยังถือกองทุน LTF อยู่

 

ข่าวดีคือ วันนี้คุณมีโอกาสทองที่จะได้ลดหย่อนภาษี จากกองทุน LTF เดิมที่คุณถืออยู่ โดยไม่จำเป็นต้องใส่เงินเพิ่ม!

 

และนี่คือสิทธิพิเศษสำหรับปีนี้เท่านั้น! ที่คุณจะได้ใช้โอกาสที่จะเปลี่ยนกองทุน LTF ที่ถืออยู่ ให้กลายเป็น

“เครื่องมือลดหย่อนภาษี” 

 

ทำง่าย ๆ เพียงแค่สับเปลี่ยนไปกองทุน Thai ESGX 

 

โอเค มาพูดถึงข้อดีของ Thai ESGX ดีกว่า

 

  1. มีโอกาสลดหย่อนภาษีสูงสุดถึง 500,000 บาท! โดยแบ่งเป็น 300,000 บาทในปี 2568 ทันที! และอีก 200,000 บาทใน 4 ปีถัดไป (ปีละ 50,000 บาท) 
  2. ให้โอกาสคุณได้เปลี่ยนหน่วยลงทุน LTF เดิมของคุณทั้งหมด ให้กลายเป็นหน่วยลงทุน Thai ESGX ที่ใช่

 

คุณอาจกำลังสงสัย…มัน “ง่าย” เกินไปหรือเปล่า?

 

ต้องบอกว่านี่คือเรื่องจริง เพราะมันคือมาตรการพิเศษที่รัฐบาลออกมาเพื่อกระตุ้นตลาดทุนไทย และช่วยให้คุณในฐานะนักลงทุนได้รับประโยชน์สูงสุด

 

แต่ต้องบอกก่อนว่า โอกาสนี้มี “วันหมดอายุ” 

 

คุณสามารถทำได้ระหว่างวันที่ 13 พฤษภาคม ถึง 30 มิถุนายน 2568 เท่านั้น! 

 

เลยจากนี้ไป… โอกาสนี้จะหมดไปทันที

 

และนี่คือ “กติกา” 3 ข้อที่คุณต้องรู้ เพื่อไม่ให้พลาดสิทธิ์!

 

  1. ต้องสับเปลี่ยน “ทั้งหมด”: ไม่ว่าคุณจะมี LTF กี่กอง กี่ บลจ. ที่ถือครอง ณ วันที่ 11 มีนาคม 2568 คุณต้องสับเปลี่ยนทั้งหมด หากสับเปลี่ยนไม่ครบ คุณจะพลาดสิทธิ์ลดหย่อนภาษีนี้ไปอย่างน่าเสียดาย!
  2. ห้ามขายคืนหรือสับเปลี่ยน LTF หลัง 11 มี.ค. 68: หากคุณทำอย่างนั้นก่อนที่จะสับเปลี่ยนเข้า Thai ESGX คุณจะหมดสิทธิ์ทันที!
  3. ถือครอง 5 ปี นับแบบวันชนวัน: คุณต้องถือหน่วยลงทุน Thai ESGX ที่สับเปลี่ยนมานี้อย่างน้อย 5 ปี 

 

แล้วใครที่เหมาะกับ Thai ESGX บ้าง?

 

  • มนุษย์เงินเดือนฐานภาษีสูง (25% ขึ้นไป): เงินคืนภาษีที่ได้รับจะ “คุ้มค่า” อย่างยิ่ง!
  • ผู้ที่เชื่อมั่นในศักยภาพของหุ้นไทย และการเติบโตอย่างยั่งยืน: เงินของคุณจะทำงานอย่างมีคุณค่า
  • ผู้ที่สามารถล็อคเงินลงทุนไว้ได้อย่างน้อย 5 ปี: ถ้าคุณมั่นใจว่าจะไม่ใช้เงินก้อนนี้ในระยะเวลาดังกล่าว นี่คือทางเลือกที่ดี

 

อย่ารอช้า! เวลาของคุณมีจำกัด!

 

ติดต่อ บลจ. ที่คุณถือ LTF อยู่ตอนนี้ หรือ บลจ. ที่คุณสนใจ Thai ESGX ทันที! 

 

10 คำถามที่นักลงทุนอยากรู้เกี่ยวกับ Thai ESGX

 

1.) SET จะกลับไป 1600 ไหม

 

เอ่อ คือ ถ้ารู้ช่วยบอกผมด้วยนะครับ

 

2.) แล้วกองทุน Thai ESGX ต่างจาก Thai ESG อย่างไร

 

โอเค จะสรุปง่าย ๆ ให้ฟัง

 

Thai ESG

  • จัดตั้ง 2023
  • จะลงทุนในหุ้นเป็นหลัก หรือตราสารหนี้เป็นหลักก็ได้ แต่ต้องเป็นตราสารที่เกี่ยวข้องกับ ESG ใน SET หรือ MAI
  • ได้สิทธิลดหย่อนภาษีสูงสุด 300,000

 

Thai ESGX 

 

  • จัดตั้ง 2025
  • เน้นลงทุนในหุ้น ESG ใน SET หรือ MAI ขั้นต่ำ 65%
  • โดยต้องเป็นหลักทรัพย์ที่มีคุณสมบัติด้านความยั่งยืน ไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV
  • ส่วนที่เหลืออีกไม่เกิน 20% ของ NAV สามารถลงทุนในสินทรัพย์อื่น ๆ ได้ เช่น หุ้นไทยที่ไม่ใช่ ESG, หุ้นต่างประเทศ หรือแม้กระทั่ง ดิจิทัลโทเคน
  • ได้สิทธิลดหย่อนภาษี 500,000 สำหรับนักลงทุนที่ย้ายจาก LTF มายัง Thai ESGX
  • ได้สิทธิลดหย่อนภาษีอีก 300,000 สำหรับนักลงทุนที่ใช้เงินก้อนใหม่ลงทุนใน Thai ESGX

 

ทั้งนี้วงเงินลดหย่อนภาษีจากทั้งสองส่วนนั้นแยกกัน

 

3.) ถ้าสับเปลี่ยน LTF ไป Thai ESGX จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอะไรบ้าง?

 

การสับเปลี่ยน LTF ไป Thai ESGX จะทำให้คุณได้รับสิทธิ์ลดหย่อนภาษีเพิ่มเติมสูงสุดถึง 500,000 บาท

 

การแบ่งสิทธิ์ลดหย่อน (5 ปี):

 

  • ปีแรก (2568): ลดหย่อนได้สูงสุด 300,000 บาท
  • ปีที่ 2 – 5 (2569 – 2572): ลดหย่อนได้ปีละไม่เกิน 50,000 บาท (รวม 200,000 บาท)

 

4.) เงื่อนไขสำคัญสำหรับการสับเปลี่ยน LTF ไป Thai ESGX เพื่อรับสิทธิ์ลดหย่อนภาษีมีอะไรบ้าง?

 

  1. ต้องสับเปลี่ยน LTF ทุกกองทุน ทุก บลจ. ที่ถืออยู่ ณ วันที่ 11 มีนาคม 2568 ไปยังกองทุน Thai ESGX หากสับเปลี่ยนไม่ครบ เหลือไว้  1 บาท ก็จะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี
  2. ช่วงเวลาการสับเปลี่ยน: 13 พฤษภาคม – 30 มิถุนายน 2568 เท่านั้น มาแลก 1 กรกฎาคม ไม่ได้สิทธิแล้วนะครับ
  3. ห้ามขาย LTF หลัง 11 มีนาคม 2568 หากมีการดำเนินการดังกล่าว จะหมดสิทธิ์รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับการสับเปลี่ยนนี้ทันที

 

5.) ต้องถือครองหน่วยลงทุน Thai ESGX ที่ได้จากการสับเปลี่ยน LTF เป็นเวลานานเท่าใด?

 

ต้องถือครองไม่น้อยกว่า 5 ปี นับแบบวันชนวัน ตั้งแต่วันที่สับเปลี่ยนหน่วยลงทุน ถ้าคิดว่าสามารถนำเงินไปสร้างผลตอบแทนอื่นที่ดีกว่าการลดหย่อนภาษีบวกการลงทุนใน Thai ESGX ได้ในระยะเวลา 5 ปีนี้ พูดตรง ๆ ว่าเอาเงินไปทำอย่างอื่นได้ครับ

 

6.) หากขายหน่วยลงทุน Thai ESGX ก่อนครบกำหนด 5 ปี จะเกิดอะไรขึ้น?

 

นี่คือสามสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้น

 

  1. จะต้อง คืนเงินภาษี ที่เคยได้รับการยกเว้นทั้งหมด
  2. อาจมี เบี้ยปรับ ตามที่กฎหมายหรือกฎเกณฑ์กำหนด
  3. หากมี กำไรจากการขายหน่วยลงทุน ก่อนครบกำหนด 5 ปี จะต้องนำกำไรนั้นมาคำนวณภาษีเงินได้ตามหลักเกณฑ์ภาษีปกติ

 

7.) สามารถสับเปลี่ยน LTF ที่ถืออยู่หลาย บลจ. มารวมไว้ที่ Thai ESGX กองทุนเดียวได้หรือไม่?

 

จากที่เช็ค ๆ มา พบว่า สามารถโอนข้าม บลจ. และสับเปลี่ยน LTF จากหลาย บลจ. มารวมไว้ที่ Thai ESGX กองทุนเดียวได้ แต่อาจจะมีค่าธรรมเนียมบางส่วน

 

เช่น ย้ายกองทุน LTF จาก บลจ. A ข้ามไปยังกองทุน Thai ESGX ของ บลจ. B แบบนี้อาจจะโดนค่าธรรมเนียมสับเปลี่ยน

 

ทั้งนี้ผู้ลงทุนควรติดต่อสอบถาม บลจ. ที่สนใจ หรือพิจารณาข้อมูลจากหนังสือชี้ชวนของกองทุน

 

8.) ถ้ามูลค่า LTF ที่จะสับเปลี่ยนมีจำนวนมากกว่า 500,000 บาท ส่วนที่เกินจะทำอย่างไร?

 

หากมูลค่า LTF ที่สับเปลี่ยนเกิน 500,000 บาท ส่วนที่เกินนั้นจะไม่ได้รับสิทธิ์ลดหย่อนภาษี 

 

โดยเงื่อนไขสำคัญเงินลงทุนทั้งหมดที่สับเปลี่ยนมาเป็น Thai ESGX (ไม่ว่าจะเกิน 500,000 บาทหรือไม่) ต้องถือครองตามเงื่อนไขของ Thai ESGX คือไม่น้อยกว่า 5 ปี นับตั้งแต่วันที่แจ้งสับเปลี่ยนหน่วยลงทุน

 

สมมติว่าถือครอง LTF อยู่ 1,000,000 บาท ก็ต้องย้ายเงินทั้งหมด 1,000,000 มาเป็นกอง Thai ESGX ให้หมดเพื่อให้ได้สิทธิลดหย่อน 500,000 บาท

 

และมูลค่าของการสับเปลี่ยนนั้นใช้ราคาตลาด (Market Value) ไม่ใช่ราคาทุน

 

9.) มาตรการนี้บังคับให้ต้องสับเปลี่ยน LTF หรือไม่? หากไม่สับเปลี่ยนจะเป็นอย่างไร?

 

มาตรการนี้ ไม่ได้บังคับ ผู้ถือหน่วยลงทุน LTF ให้สับเปลี่ยน เป็นเพียงการเปิดโอกาสให้สามารถสับเปลี่ยนได้ตามความสมัครใจ

 

หากไม่สับเปลี่ยน: เมื่อหมดช่วงสับเปลี่ยน (30 มิถุนายน 2568) กองทุน LTF เดิมของคุณที่ไม่ขายออก จะถูกเปลี่ยนเป็น กองทุนผสม ที่มีนโยบายเน้นลงทุนในหุ้นไทยไม่น้อยกว่า 65% ของ NAV และจะเปิดขายเหมือนกองทุนรวมทั่วไปแทน

 

แล้วทางเลือกอื่น???

 

นักลงทุนอาจเลือกขายคืนหน่วยลงทุน LTF ที่ครบกำหนดเงื่อนไขเดิมแล้ว และนำเงินไปลงทุนในทางเลือกอื่นแทน เช่น ซื้อ RMF หรือ Thai ESG ปกติ ที่มีนโยบายการลงทุนที่หลากหลายกว่า เพื่อให้เหมาะกับความเสี่ยงหรือเป้าหมายการเงินอื่น ๆ

 

ใครควรโอน LTF เดิม ไป Thai ESGX?

กลุ่มผู้บริหาร ฐานภาษี 25-35% คือคนที่ควรโอน

ถ้ารู้สึกว่า ภาษีแพงเหลือเกิน โอนเถอะครับ แค่ขยับ LTF เก่ามา Thai ESGX เหมือนได้เงินคืนภาษีฟรี ๆ ปีละ 5-7% ของยอดที่โอนเลยนะ! (ถ้าตลาดไม่ลง) แถมถือแค่ 5 ปีเอง ไม่ต้องล็อคนานเหมือน RMF ด้วย

ส่วนอีกกลุ่มคือนักลงทุนที่อายุน้อยกว่า 50

เพราะ RMF ต้องรอถึงอายุ 55 ปีเลยนะ! แต่ Thai ESGX รอ 5 ปีเอง! 

แล้วใครควรหาทางอื่นดีกว่า?

นักลงทุนฐานภาษี 10%: ถ้าฐานภาษีแถว ๆ 10% การโอนจะให้ผลตอบแทนแค่ปีละ 1-2% เองนะ การขาย LTF แล้วเอาเงินไปต่อยอดทางเลือกอื่นอาจจะคุ้มกว่า

อายุมากกว่า 50: ถ้าอายุใกล้ 55 ปีแล้วเนี่ย หันไปหา RMF จะดีกว่าถ้าเคยลงทุนมาก่อนหน้าแล้ว แถมยังมีหลายนโยบายให้เลือก

 

ผลตอบแทน 5-7% ค่าธรรมเนียมค่าใช้จ่ายรวมเท่าไร? เรียงมาให้แล้ว

 

เราได้ทำการแบ่งกองทุน Thai ESGX เป็นสามกลุ่มได้แก่

 

  • กลุ่มกองทุนผสม หุ้น 70% ตราสารหนี้ 30%
  • กลุ่มหุ้น Active
  • กลุ่มหุ้น Passive

 

กลุ่ม: หุ้น 70 ตราสารหนี้ 30

 

P-MESGX 1.7227%

ABALL-TESGX 1.61%

ASP-MIX-THAIESGX 1.61%

K-70THAIESGX 1.61%

KF70-THAIESGX 1.61%

KTEQ70PLUSX 1.61%

MIX-Thai ESGX 1.61%

SCBT70X 1.61%

UMIX-TESGX 1.61%

ES-DIV70THAIESGX 1.34%

TTHai70ESGX 1.28%

BM70-TESGX 1.07%

KXP BL THAIESGX 1.07%

LHTHAIESGX 1.07%

BMDIV-TESGX 0.8%

 

กลุ่ม: หุ้น Active

 

KTEQPLUSX 1.88%

K-HDThaiESG 1.8725%

KFAEQ-THAIESGX 1.87%

PRINCIPAL SEQTESGX 1.87%

SCBTAX 1.87%

SCBTAPX 1.87%

ASP-DEQ-THAIESGX 1.61%

BEQD-TESGX 1.61%

ES-DIVTHAIESGX 1.61%

HIDIV-THAI ESGX 1.61%

KWI ThaiESGX 1.61%

MEQUTY-Thai ESGX 1.61%

MIF-Thai ESGX 1.61%

MEGATX8020U 1.61%

MEGATX8020C 1.61%

TThaiESGX 1.61%

UEQ-TESGX 1.61%

KTEQGDVX 1.07%

ONE-THAIESGX 1.07%

 

กลุ่ม: หุ้น Passive

 

BCAPSETTHAIESGX 0.64%

KFS50-THAIESGX 0.54%

SCBTS100X 0.5%

 

สรุปกองทุน Thai ESGX ทุกกอง

 

ABALL-TESGX: พอร์ต 70/30 ปรับพอร์ตลงทุนแบบยืดหยุ่นด้วยกลยุทธ์ Dynamics Moves Across Market Cycles ไม่มีปันผล

 

ASP-DEQ-THAIESGX: เน้นหุ้นยั่งยืน ปันผลสูง กองทุนจ่ายปันผล

 

ASP-MIX-THAIESGX: ลงทุนแบบผสม พอร์ต 70/30 บริหารแบบ Dynamics กองทุนจ่ายปันผล

 

BCAPSETTHAIESGX: กองทุน Passive เน้นผลตอบแทนคล้ายดัชนี SETTESG TRI  ไม่จ่ายปันผล

 

BEQD-TESGX: ลงทุน Active เน้นบริษัทยั่งยืน เติบโตดี มีจ่ายปันผล 

 

BM70-TESGX: 70/30 ลงทุนในบริษัทสถานะการเงินแข็งแกร่ง ไม่มีปันผล

 

BMDIV-TESGX: กองทุนรวมผสม 70/30 Low Fee & Low Beta มีปันผล

 

ES-DIV70THAIESGX: กองทุนผสม 70/30 สัดส่วน 65-70% ลงทุนในหุ้น ESG ปันผลดี สม่ำเสมอ มีให้เลือกทั้งกองทุนปันผลหรือสะสมมูลค่า

 

ES-DIVTHAIESGX: กองทุน Active เน้นลงทุนในหุ้น ESG ระดับ AA ขึ้นไป ปันผลดี สม่ำเสมอ มีให้เลือกทั้งกองทุนปันผลหรือสะสมมูลค่า

 

HIDIV-THAI ESGX: กองทุน Active เน้นหุ้นปันผลสม่ำเสมอ กองทุนจ่ายปันผล

 

K-70THAIESGX: กองทุนหุ้น 70/30 โดย 70% หุ้น ESG ปันผลดี สม่ำเสมอ อีก 30% ตราสารหนี้ยั่งยืน กองทุนจ่ายปันผล

 

K-HDThaiESG: กองทุน Active เน้นลงทุนใน SETHD  กองทุนจ่ายปันผล

 

KF70-THAIESGX: กองทุนผสม 70/30 มีนโยบายจ่ายปันผล กองทุนจ่ายปันผล

 

KFAEQ-THAIESGX: ลงทุนหุ้นต่างประเทศ ไม่เกิน 15% ลงทุนหุ้นไทยมากกว่า 80% กองทุนจ่ายปันผล

 

KFS50-THAIESGX: ลงทุน Passive ตามดัชนี SET50 กองทุนไม่จ่ายปันผล

 

KTEQ70PLUSX: กองทุน 70/30 เน้นลงทุนในหุ้น 65-75% ที่เหลือเป็นตราสารหนี้ไทย และอาจลงทุนในหุ้นต่างประเทศทองคำ กองทุนจ่ายปันผล

 

KTEQDIVX: เน้นลงทุนในหุ้นรายตัว พื้นฐานดี ปันผลดี กองทุนจ่ายปันผล

 

KTEQPLUSX: ลงทุนในหุ้นต่างประเทศ ไม่เกิน 20% กองทุนจ่ายปันผล

 

KWI ThaiESGX: ลงทุน Activeใช้กลยุทธ์วิเคราะห์และคัดเลือกหุ้นรายตัวด้วยกระบวนการ ESG Integration กองทุนไม่จ่ายปันผล

 

KKP BL THAIESGX: กองทุนผสม 70/30 กองทุนไม่จ่ายปันผล

 

LHTHAIESGX: เน้น Active โดยลงทุนใน SET50 ที่มีปันผลสม่ำเสมอ กองทุนไม่จ่ายปันผล

 

MEGATX8020C: หุ้นจีน 20% โดยลงทุนใน MEGA10CHINA ส่วนที่เหลือลงทุนในหุ้นไทย 20 – 25 บริษัท กองทุนไม่จ่ายปันผล

 

MEGATX8020U: หุ้นสหรัฐฯ 20% โดยลงทุนใน MEGA10 ส่วนที่เหลือลงทุนในหุ้นไทย 20 – 25 บริษัท กองทุนไม่จ่ายปันผล

 

MEQUITY-Thai ESGX: กองทุน Active เน้นหุ้นกลุ่มยั่งยืน มีการจ่ายปันผล

 

MIF-Thai ESGX: กองทุนเพื่อความยั่งยืน สำหรับนักลงทุนที่นับถือศาสนาอิสลามโดยเฉพาะ มีการจ่ายปันผล

 

MIX-Thai ESGX: กองทุน 70/30 เน้นหุ้นกลุ่มยั่งยืน มีการจ่ายปันผล

 

ONE-THAIESGX: ใช้ One’s Universe + ESG’s Universe ในการคัดเลือกหุ้นแบบ Active ไม่มีการจ่ายปันผล

 

P-MESGX: กองทุน 70/30 โดย 70% เน้นหุ้นพื้นฐานดี กระแสเงินสดยอดเยี่ยม ไม่มีการจ่ายปันผล

 

PRINCIPAL SEQTESGX: ใช้ FMV Model + ESG ในการเลือกหุ้นเข้าพอร์ต มีการจ่ายปันผล

 

SCBT70X: กองทุน 70/30 ลดผันผวน มีให้เลือกทั้งกองทุนปันผลและสะสมมูลค่า

 

SCBTAPX: ลงทุนในหุ้นต่างประเทศ 20% และหุ้นไทย 80% ในกลุ่ม ESG โดยใช้ Machine Learning มีให้เลือกทั้งกองทุนปันผลและสะสมมูลค่า

 

SCBTAX: ลงทุนในหุ้น Active เน้นหุ้นไทย ESG มีให้เลือกทั้งกองทุนปันผลและสะสมมูลค่า

 

SCBTS100X: กองทุนหุ้น Passive สร้างผลตอบแทนใกล้เคียง SET100 มีให้เลือกทั้งกองทุนปันผลและสะสมมูลค่า

 

TThai70ESGX: กองทุน 70/30 ด้วยหุ้นสไตล์ Value ที่เด่นด้าน ESG ไม่มีการจ่ายปันผล

 

TThaiESGX: กองทุน Active ลงทุนในหุ้น SET + MAI ที่เด่นด้าน ESG

 

UEQ-TESGX: หุ้นใน SET ที่เด่นด้าน ESG มีให้เลือกทั้งกองทุนปันผลและสะสมมูลค่า

 

UMIX-TESGX: กองทุน 70/30 เน้นหุ้นใน SET ที่เด่นด้าน ESG มีให้เลือกทั้งกองทุนปันผลและสะสมมูลค่า

 

No Comments

Sorry, the comment form is closed at this time.