เงินที่หามาได้ ไม่สำคัญเท่ากับจำนวนเงินออม

เงินที่หามาได้ ไม่สำคัญเท่ากับจำนวนเงินออม

คนเงินเดือน 100,000 บาท แต่ไม่มีแผนการใช้จ่าย อาจเก็บเงินได้เดือนละ 1,000 บาท

แต่คนเงินเดือน 25,000 บาท แต่มีการจัดการเงินที่ดี อาจมีเงินเหลือเก็บเดือนละ 10,000 บาท

จุดที่แตกต่างคือวิธีการใช้เงิน

วันนี้ odini จะพาทุกคนไปดู 5 สาเหตุที่ทำให้เก็บเงินไม่ได้

 

1.ไม่รู้ว่าตัวเอง ออมเงิน ไปเพื่ออะไร

 

บางคน ออมเงิน เพราะอยากมีบ้าน

 

บางคน ออมเงิน เพราะอยากเที่ยวต่างประเทศ

 

บางคน ออมเงิน เพราะอยากได้รถใหม่

 

บางคน ออมเงิน เพราะอยากปลดหนี้ แบ่งเบาภาระครอบครัว

 

ความต้องการไม่มีถูกหรือผิด มีแต่ตรงจริตเราหรือไม่ เท่านั้น

 

แต่สิ่งที่ห้ามทำเด็ดขาดคือออมเงินไปซื้อของที่ไม่อยากซื้อ เพียงเพื่ออยากได้รับการยอมรับจากคนที่ไม่ชอบ เพราะมันจะนำไปสู่หายนะทางการเงินแบบ 100%

 

  1. ไม่ทำบัญชีรายรับรายจ่าย

 

การไม่ทำรายรับรายจ่ายเหมือนการเดินป่าโดยไม่มีแผนที่

 

คุณจะไม่รู้ว่ามีเงินเข้าต่อเดือนเท่าไร

 

คุณจะไม่รู้ว่าเงินไหลออกต่อเดือนเท่าไร

 

คุณจะไม่รู้ว่าเงินออมไปตรงส่วนไหนบ้าง

 

คุณจะไม่รู้ว่าเงินออมเหลือเท่าไร

 

คุณจะไม่รู้ว่าจะจัดการภาษียังไง

 

ดังนั้น จุดเริ่มต้นของการมีสุขภาพการเงินที่ดีไม่ได้ต้องการสูตรลับวิเศษอะไร แค่ทำรายรับรายจ่าย ทำรายรับรายจ่าย และทำรายรับรายจ่าย

 

3.จ่ายบัตรเครดิตขั้นต่ำ

 

เกินครึ่งของคนไทยที่มีหนี้ มียอดหนี้เกิน 100,000 บาท กว่า 30% เป็นหนี้บัตรเครดิต

 

การเป็นหนี้บัตรเครดิต ไม่ใช่เรื่องร้ายแรง ถ้าบริหารจัดการได้

 

แต่เรื่องจริงไม่ใช่แบบนั้น

 

ตัวเลขบัญชี สินเชื่อบัตรเครดิตที่เป็นหนี้เสีย ค้างเกิน 90 วัน มีจำนวนประมาณ 1 ล้านบัตร คิดเป็นยอดเงิน 6.4 หมื่นล้านบาท เติบโต 14.6% จากปีก่อน

 

และนี่คือสิ่งที่หลายคนพลาด มันอาจเริ่มจากการใช้บัตรเกินตัว สมัครบัตรใหม่  แล้วจ่ายขั้นต่ำไปเรื่อย ๆ จนทำให้หนี้มีขนาดก้อนใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ และใช้คืนไม่ไหวในที่สุด

 

ดังนั้นอย่าเป็นหนี้บัตรเครดิตโดยไม่รู้จักวิธีจัดการนะครับ

 

4.ไม่มีเงินออมสำรองฉุกเฉิน

 

หลายครั้งปัญหาทางการเงินมาจากเรื่องภายนอก

 

บางคนออมเงินในกองทุนอยู่ดี ๆ แล้วเจ็บป่วย ทำให้ต้องใช้เงินก้อน

 

สุดท้ายต้องยอมขายกองทุนออกมาทั้ง ๆ ที่กองทุนยังติดลบ

 

จะเห็นว่าครั้งนี้ปัญหาจริงๆ ไม่ได้เกิดจากการไม่ออมเงิน แต่ไม่ได้ออมเงินเผื่อเหตุฉุกเฉิน

 

เรื่องนี้ถ้าใครมีเงินเก็บ แก้ไม่ยาก แนะนำว่าให้ออมเงินสำหรับค่าใช้จ่ายฉุกเฉิน 6 – 12 เดือน ก่อนที่จะนำเงินไปทำอย่างอื่น

 

  1. จ่ายก่อนออม

 

จ่ายก่อนออมไม่เหมือนกับออมก่อนจ่าย

 

จ่ายก่อนออม = เหลือเท่าไรออมเท่านั้น

 

แน่นอนว่าคนที่ใช้วิธีนี้บางเดือนอาจออมมากออมน้อยไม่เท่ากัน และทำให้เก็บเงินไม่ได้ในที่สุด

 

ออมก่อนจ่าย = ได้ออมแน่ ๆ เหลือเท่าไรค่อยไปใช้จ่าย

 

ถ้ารู้สึกว่าออมก่อนจ่ายยาก ลองให้ odini ช่วยได้นะครับ

 

┏━━━━━━━━━━━━━┓

การลงทุนดูเป็นเรื่องยากและวุ่นวาย? ทำให้เป็นเรื่องง่ายได้ด้วย odini General ที่ช่วยให้เข้าถึงการลงทุนแสนง่ายได้ด้วยระบบอัตโนมัติ ผ่าน Robo-advisor ซึ่งเป็น AI ควบคู่ไปกับทีมงานผู้เชี่ยวชาญ เลือกได้หลากหลายระดับผลตอบแทนที่ต้องการ เริ่มต้นเพียงแค่ 1,000 บาทเท่านั้น ผ่านแอปพลิเคชัน odini odiniapp.co/3NZCMWQ เริ่มออมวันนี้ดีที่สุดนะครับ 

┗━━━━━━━━━━━━━┛

 

#odini

#แอปลงทุนกองทุนรวมอัตโนมัติ

#ลงทุนง่ายได้ทุกคน

 

*ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต

**การลงทุนมีความเสี่ยงผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน

 

อ้างอิง

 

https://www.thaipbs.or.th/news/content/339775

 

https://www.bbc.com/thai/articles/cx9wdj75kpgo

 

No Comments

Sorry, the comment form is closed at this time.