เกิดอะไรขึ้นกับหุ้น EA วันนี้ odini จะสรุปให้ฟังภายใน 3 นาทีครับ
เรื่องทั้งหมดเริ่มต้นจากในปี 2565 นาง บลังกา ชูหลาน หวาง อดีตภรรยาของนาย สมโภชน์ อาหุนัย CEO ของ EA หรือบริษัท Energy Absolute ได้ออกมาเปิดเผยถึงการทุจริตของนาย สมโภชน์ อาหุนัย และพวก ผ่านบริษัทย่อยของ EA
ตัดภาพมาที่ปัจจุบัน ในประกาศของ ก.ล.ต. หลังจากได้พิจารณาหลักฐานแล้ว บังคับให้
-นาย สมโภชน์ อาหุนัย CEO
-นาย อมร ทรัพย์ทวีกุล CFO
พ้นจากตำแหน่งใน EA ทันที
เนื่องจากมีความผิดฐานทุจริต โดยขนาดของการทุจริตนั้นรวมอยู่ที่ 3,465.64 ล้านบาท
ทั้งนี้คดีดังกล่าวยังเป็นเพียงการกล่าวโทษเท่านั้น ยังไม่ได้ตัดสินคดีความ
แต่ประเด็นดังกล่าวส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่อตลาดหุ้นไทย
จากการที่ EA อยู่ในลิสต์ของ SET ESG Ratings
จึงเกิดคำถามที่ว่า
ธรรมาภิบาลอยู่ที่ไหน ?
อะไรคือ ESG กันแน่ ?
ซึ่งหลังจากเกิดเหตุการณ์ EA ก็ได้ถูกปลด ESG Ratings
ราคาของหุ้น EA ปรับตัวลงอย่างหนัก เหลือเพียง 5 บาท ภายในเวลาไม่นาน
ตอนนี้สงสัยใช่ไหมครับว่าหุ้นตกหนักแล้วเกี่ยวอะไร ถ้ากิจการยังดีอยู่แปลว่ามันเป็นโอกาสหรือเปล่า?
ต้องเล่าต่อว่า EA ได้มีกู้เงินเพื่อทำธุรกิจ
โดยการออกหุ้นกู้ และกู้ยืมธนาคาร เพื่อกู้เงินไปใช้ในการดำเนินกิจการ
โดยปัจจุบัน EA มียอดคงค้างที่ต้องชำระในปี 2567 เป็นจำนวน 16,488 ล้านบาท
โดยปกติแล้ว บริษัทที่รู้ตัวว่าครบกำหนดชำระ จะมีการวางแผนออกหุ้นกู้ชุดใหม่เพื่อนำเงินไปไถ่ถอนหุ้นกู้ชุดเก่า
ประเด็นอยู่ตรงนี้ครับ
เนื่องจาก EA มีประเด็นเกี่ยวข้องกับการทุจริต ทำให้บริษัทจัด Rating downgrade บริษัทจาก BBB+ (Negative) เป็น BB+ (Negative)
ซึ่งประเด็นก็คือ
ตราสารที่เกรด BBB+ = Investment grade
ตราสารที่เกรด BB+ = Junk grade
เมื่อความเชื่อมั่นถูกปรับลง แล้วคำถามคือ แล้วใครจะมาซื้อหุ้นกู้รุ่นถัดไปจากบริษัท???
แน่นอนว่าพอไม่มีนักลงทุนคนไหนสนใจ เราก็ต้องมาดูกันว่าในบริษัท EA มีเงินสดเพียงพอที่จะจ่ายคืนให้กับผู้ถือหุ้นกู้หรือไม่
ซึ่งปัจจุบัน บริษัทแจ้งว่ามีเงินสดอยู่ราว ๆ 2,000 ล้านบาท อ้างอิงงบไตรมาสที่ 1 ปี 2567 และรายได้เงินสดจากโรงไฟฟ้าอีกราว ๆ เดือนละ 1,000 ซึ่งไม่ชัดเจนว่าจะเพียงพอต่อการชำระหนี้ทั้งหมด
ทั้งหมดทั้งมวลก่อให้เกิดความกังวลแก่ผู้ถือหุ้นกู้ ทำให้เกิดการแย่งกันขายหนีตายหรือ Panic Sell ออกมา
และนั่นยังส่งผลไปยังนักลงทุนที่ลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ที่ถือ EA เข้าไปอีกทอดหนึ่ง
โดยล่าสุด คุณ สมโภชน์ อาหุนัย และคุณ อมร ทรัพย์ทวีกุล จะพ้นอำนาจในการบริหาร โดย CEO รักษาการแทนคือ คุณ สมใจนึก เองตระกูล
แต่ทั้งนี้ก็ต้องติดตามกันต่อไปว่า EA จะหาเงินมาชำระหุ้นกู้ได้ทันกำหนดหรือไม่
แล้วนักลงทุนกองทุนตราสารหนี้ที่มี EA ควรทำอย่างไร?
สำหรับนักลงทุนที่ลงทุนในกองทุนรวม ที่มีการลงทุนในตราสารหนี้ของ EA นั้น ให้ติดตามเรื่องการชำระหนี้คืน ทั้งนี้ทาง บลจ. ต่าง ๆ ได้ใช้มาตรการ Set Aside/Side Pocket และ Redemption gate
เพื่อปกป้องนักลงทุนรายย่อย เป็นที่เรียบร้อย โดยที่
- Set Aside/Side Pocket : แยกส่วนที่มีปัญหา ในกรณีนี้คือหุ้นกู้ของ EA ออกจากกองทุน แล้วดำเนินงานต่อไป หรือตัดสินใจปิดกองทุนแล้วคืนเงิน
- Redemption Gate : ลดแรงขายของกองทุน โดยกำหนดจำนวนเงินถอนออกต่อวัน
แล้ว odini ลงทุนในหุ้นและตราสารหนี้ EA หรือไม่?
ณ ปัจจุบัน odini ทั้ง
- odini General
- odini BLACK Ultimate Allocation
- odini BLACK Schroders
ไม่ได้มีการลงทุนใน EA
ดังนั้น สบายใจได้ครับ
#odini
#แอปลงทุนกองทุนรวมอัตโนมัติ
#ลงทุนง่ายได้ทุกคน
*ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต
**การลงทุนมีความเสี่ยงผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน
อ้างอิง
https://www.thairath.co.th/money/investment/stocks/2800952
https://www.set.or.th/th/about/setsource/news-release/article/556-statement-ea