กับดัก LTF … ซื้อกองเดิม เติมกองเด่น เน้นกองเดียว
พอใกล้ช่วงปลายปี ก็ได้เวลาที่มนุษย์เงินเดือนอย่างเราต้องหาซื้อกองทุนเพื่อลดหย่อนภาษี แต่จะรู้ได้อย่างไรว่าวิธีการเลือก LTF ที่เราทำมาตลอดนั้นเหมาะสมแล้ว? วันนี้ผมจะรวบรวมพฤติกรรมที่คนส่วนใหญ่มักใช้ในการเลือกกองทุน LTF มาวิเคราะห์ให้ฟังแบบง่าย ๆ กันนะครับ
พฤติกรรมที่ 1: ซื้อกองเดิม
มีนักลงทุนไม่น้อย รวมถึงตัวผมเองในสมัยก่อน ที่ซื้อกองทุน LTF กองเดิมทุกปี โดยเดินไปซื้อจากสาขาธนาคารที่อยู่ใกล้ที่ทำงานที่สุด เวลาดูพอร์ตก็ดูง่ายเพราะมีกองเดียว ซื้อล็อตใหม่ตอนปลายปีแล้วตอนต้นปีก็ขายล็อตเก่าที่ถือมาจนครบเงื่อนไข เน้นเรื่องลดหย่อนภาษีเป็นหลัก
ซื้อกองเดิม แล้วไง?
แม้ว่า LTF ทุกกองคือการลงทุนในหุ้นเหมือนกัน (LTF = Long Term Equity Fund) แต่ด้วยนโยบายการลงทุน และฝีมือของผู้จัดการกองทุนที่แตกต่างกัน ส่งผลให้ผลตอบแทนของ LTF แต่ละกองนั้นต่างกันอยู่มาก ยิ่งถ้าเราต้องถือไปอีก 7 ปี ยิ่งทำให้ผลตอบแทนมีโอกาสทิ้งช่วงห่างกันมากขึ้นไปด้วย นอกจากนี้ สภาวะตลาดที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง อาจส่งผลให้กองเดิมที่เคยมีผลตอบแทนโดดเด่นในอดีตไม่สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีได้ในอนาคต ดังนั้น เราควรคิดทุกครั้งก่อนซื้อว่าครั้งนี้จะซื้อกองไหนดี ถ้าจะซื้อกองเดิมก็ต้องมาจากเหตุผลว่ากองนั้นยังดีจริง
รู้หรือไม่
ในรอบ 11 เดือนแรกของปี 2018 ส่วนต่างของผลตอบแทนจากการซื้อกองทุน LTF อันดับหนึ่งและอันดับสุดท้าย มีค่าถึง 16%!
พฤติกรรมที่ 2: เติมกองเด่น เน้นกองเดียว
สำหรับนักลงทุนที่หลุดกับดักซื้อกองเดิมมาได้ วิธีการเลือกซื้อ LTF ที่นิยมใช้กันทั่วบ้านทั่วเมืองคือการดูที่ตารางผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี, 3 ปี หรือ 5 ปี และเลือกจ่าฝูงที่สร้างผลตอบแทนสูงสุดมาหนึ่งกองทุน คล้ายกับการเลือกทีมฟุตบอลที่ทำคะแนนสูงสุดและได้แชมป์ แล้วลงเงินทั้งหมดที่ตั้งใจว่าจะซื้อ LTF กับกองทุนจ่าฝูงนี้เพียงกองเดียว (อย่าลืมนะครับว่าซื้อได้ไม่เกิน 15% ของรายได้ปีนี้ และไม่เกิน 500,000 บาท)
เติมกองเด่น เน้นกองเดียว แล้วไง?
การเป็นที่ 1 ว่ายากแล้ว การรักษาตำแหน่งที่ 1 นั้นยากกว่า กองทุนที่ได้อันดับ 1 ในปีนี้มีโอกาสไม่มากนักที่จะรักษาตำแหน่งที่ 1 ในปีหน้า (ไม่เหมือนกับทีมฟุตบอลบางทีมที่คว้าแชมป์ต่อเนื่องได้หลายปี) แล้วเป้าหมายของการลงทุนก็ไม่ได้ขึ้นกับว่ากองที่เราเลือกนั้นจะได้ที่ 1 หรือเปล่า เป้าหมายของการลงทุนที่แท้จริงคือการสร้างผลตอบแทนที่ดีอย่างสม่ำเสมอ ดังนั้น วิธีการที่ดีกว่าคือการกระจายเงินลงทุนใน 2-3 กองทุน LTF โดยพิจารณาเลือกกองทุนที่มี Style การลงทุนที่แตกต่างกันพอสมควร เพื่อประโยชน์เรื่องการกระจายความเสี่ยง
รู้หรือไม่
ย้อนไปเมื่อปลายปี 2017 ถ้าเราซื้อกองทุนที่สร้างผลตอบแทนสูงสุดเป็นอันดับหนึ่งในรอบ 1 ปี แล้วถือมาถึงสิ้นเดือนพฤศจิกายน 2018 เราจะขาดทุน 17% ในขณะที่ตลาดโดยรวมขาดทุนเพียง 4% (Benchmark = SET50 Total Return Index)
ซื้อกองทุน LTF กับ odini ดีอย่างไร?
ทีมงานของ odini ซึ่งประกอบด้วย Fund Manager, Analyst และ Data Scientist ได้คิดค้น Robo-advisor เพื่อเลือกชุดเหมาะสมที่สุดของ LTF 3 กองทุน โดยที่กองทุนดังกล่าวต้องมีการบริหารแบบ Active Fund ซึ่งไม่ระบุ Theme การลงทุน (Non-thematic Investment) เงื่อนไขดังกล่าวถูกกำหนดเพื่อการเลือกกองทุนที่ให้อิสระกับ Fund Manager ในการบริหารการลงทุน (Free Hand) โดยที่ odini จะใช้ระบบการให้คะแนนกองทุนที่พิจารณาจากอันดับการสร้างผลตอบแทนในแต่ละเดือน ย้อนหลังต่อเนื่อง 12 เดือน เพื่อคัดเลือก 3 กองทุน (จากส่วนผสมที่เป็นไปได้ทั้งหมด) ที่สร้างผลตอบแทนร่วมกันได้ดีอย่างสม่ำเสมอ โดยที่ลูกค้าสามารถดูรายละเอียดของแต่ละกองทุนได้ผ่าน odini พร้อมทั้งระบุรายได้ต่อปีและจำนวนเงินที่ต้องการลงทุน โดยที่ odini จะตัดเงินจากบัญชีออมทรัพย์ตอน 10.00 น. เพื่อซื้อ 3 กองทุนดังกล่าวให้แบบอัตโนมัติ พร้อมทั้งแจ้งยอด Quota คงเหลือว่าเรายังซื้อ LTF ได้อีกกี่บาท เมื่อถึงครบกำหนดเงื่อนไขการถือ LTF ระบบ odini ก็จะแจ้งว่ามีกองไหนบ้างที่สามารถขายได้แล้ว ไม่ต้องโทรถามใคร ไม่ต้องไปธนาคาร เรียกได้ว่า odini ช่วยเลือกกองทุนชุดที่ดีที่สุดให้เสมอ และคอยดูแลพอร์ทให้ตลอดเวลา ไม่ต้องติดกับดักซื้อแต่กองเดิม ๆ ที่เคยจำได้ว่าดี ไม่ต้องเติมเงินก้อนใหม่ทั้งหมดไปที่เพียงกองเดียวที่เชื่อว่าดีที่สุด … มาออกจากกับดักการซื้อ LTF แบบเดิม ๆ มาลงทุนผ่าน odini กันเถอะครับ